คำต่อคำ Carlos Ghosn ซีอีโอ Nissan กับประเด็นการเทคโอเวอร์ Mitsubishi Share this

คำต่อคำ Carlos Ghosn ซีอีโอ Nissan กับประเด็นการเทคโอเวอร์ Mitsubishi

Satapana
โดย Satapana
โพสต์เมื่อ 27 October 2559

ข่าวใหญ่ระดับโลกเมื่อสัปดาห์ก่อนหนีไม่พ้น การ “ปิดดีล” เทคโอเวอร์มิตซูบิชิของนิสสัน ซึ่งทำให้เกิดเป็นหนึ่งในกลุ่มพันธมิตรยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ผู้อยู่เบื้องหลังดีลแห่งปีนี้คือ คาร์ลอส กอส์น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของนิสสัน ซึ่งล่าสุดได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนอาเซียนทางโทรศัพท์ ลองไปติดตามความเห็นของเขากันได้แบบคำถามต่อคำถามกันเลย

คุณประเมินสถานการณ์ของมิตซูบิชิในเวลานี้อย่างไร เมื่อเทียบกับครั้งที่เกิดขึ้นจากการร่วมกิจการระหว่างนิสสันกับเรโนลต์ ในปี 1999

เมื่อปี 1999 นิสสันกำลังเผชิญกับวิกฤตที่เกี่ยวกับศักยภาพภายในองค์กร ซึ่งไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอกดังกรณีของมิตซูบิชิที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับธุรกิจของมิตซูบิชิ พวกเขาต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัญหาในประเทศญี่ปุ่นซึ่งทั้งสองกรณีแตกต่างกัน  เราเชื่อว่ามิตซูบิชิมีศักยภาพดีเยี่ยม สามารถเติบโตแต่ยังต้องส่งเสริมศักยภาพอย่างเต็มที่ บางเรื่องต้องมาจากวิธีการดำเนินธุรกิจแบบของมิตซูบิชิเอง บางเรื่องก็ต้องเกิดจากความท้าทายจากภายนอกองค์กร

ความคืบหน้าของการร่วมเป็นพันธมิตรภายหลังจากที่ประกาศในครั้งแรก เช่นการจัดซื้อ หรือการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี มีความเป็นไปได้ไหมว่าผู้บริหารของนิสสันจะย้ายไปร่วมงานที่มิตซูบิชิในแต่ภูมิภาค เช่น ประเทศในกลุ่มอาเซียน

คำตอบคือ “ไม่” เรามีการปฏิบัติงานแยกจากกัน ภารกิจหรือความรับผิดชอบต่างๆ ของแต่ละภูมิภาคจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่แน่นอนว่าเพื่อให้แต่ละภูมิภาคทำงานให้เกิดผลดีและความสามารถที่ดี เราจะมีความร่วมมือกัน โดยเฉพาะในประเทศอาเซียน ธุรกิจของมิตซูบิชิมีขนาดใหญ่กว่านิสสันซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของนนิสสันเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเราสามารถขอการสนับสนุนจากทางมิตซูบิชิไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับขนส่งต่างๆ ที่มิตซูบิชิมี ขณะเดียวกัน มิตซูบิชิก็ได้รับประโยชน์จากความได้เปรียบทางด้านต้นทุนการผลิตเช่นกัน

รถของมิตซูบิชิในปัจจุบันค่อนข้างเก่า เมื่อไหร่ที่จะได้เห็นรถโมเดลใหม่ที่เกิดจากการร่วมกันของการเป็นพันธมิตรในครั้งนี้

หลายบริษัทก็ประสบปัญหาโมเดลที่เริ่มมีอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาของนิสสันและมิตซูบิชิเช่นกัน เวลานี้ผมยังตอบไม่ได้ว่าการร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ บอกได้ ณ ตอนนี้ว่า เราจะได้รับประโยชน์ในสองเรื่อง หนึ่งคือการใช้แพลทฟอร์มร่วมกันเมื่อมีความเป็นไปได้ และสองการพัฒนาแพลทฟอร์มร่วมกัน อาทิ รถกระบะในตลาดอาเซียนซึ่งมิตซูบิชิมีความได้เปรียบในภูมิภาคนี้อยู่แล้ว

การควบรวมกิจการในครั้งนี้ให้ประโยชน์แก่นิสสันในระยะสั้นและยาวอย่างไร

แน่นอนว่าการเข้าถือหุ้น 34% ทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์ เราไม่ได้เป็นเจ้าของทั้งหมด แค่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งการเป็นพันธมิตรระหว่าง 2 บริษัทนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับประโยชน์จากกำไรหรือการปันผล ขณะเดียวกันการทำงานร่วมกันยังได้รับประโยชน์ในด้านการจัดสรรทรัพยากร หรือ จัดซื้อต่างๆ ตัวอย่างที่เห็นได้คือ ขนาดของธุรกิจที่เกิดขึ้นในปีแรกที่นิสสันมี 24 พันล้านเยน แต่พอมาถึงปีที่สาม เติบโตเป็น 60 พันล้านเยนซึ่งปัจจัยหลักมาจากการร่วมทำกำไรและขาดทุน อย่างทำการลดต้นทุนต่างๆ

https://img.icarcdn.com/autospinn/body/carlos.jpg

มีความเป็นไปได้มั้ยว่า นิสสันจะเทคโอเวอร์มิตซูบิชิเพิ่มมากกว่า 34%

เวลานี้เรายังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการเข้าถือหุ้น พื้นฐานของการเป็นพันธมิตรคือความมั่นคง เรามีข้อตกลงกันว่านิสสันจะถือหุ้น 34% ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ส่วนอื่นๆ ถือหุ้นโดยบริษัทภายใต้กลุ่มมิตซูบิชิ รวมถึงแบงก์ออฟโตเกียว ปัจจุบัน มิตซูบิชิถือหุ้น 17% เมื่อรวมกับนิสสันก็จะเป็น 51% ถ้ามิตซูบิชิจะลดสัดส่วนการถือหุ้น เราก็อาจจะเพิ่มขึ้นได้

ท่านคาดหวังอย่างไรกับการร่วมกันของนิสสันและมิตซูบิชิในครั้งนี้ สำหรับตลาดอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย แล้วจะมีผลอย่างไรกับธุรกิจนิสสันในภูมิภาคนี้

ขนาดของธุรกิจของนิสสันในอาเซียนมีสัดส่วน 1 ใน 5 ของทั่วโลกกับ 1/5 แต่ภูมิภาคอาเซียนมีศักยภาพใหญ่กว่านั้น การเข้าใจพื้นฐานในด้านต่างๆจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ และมีโอกาสมากมายรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อต่างๆที่ มิตซูบิชิมีความโดดเด่น การจัดการด้านการขนส่งต่างๆ นอกจากนี้ การพัฒนาร่วมกันต่างๆ ในอินโดนีเซียเรามองถึงการได้ประโยชน์ด้านการขยายฐานการผลิตของมิตซูบิชิ

นิสสันและมิตซูบิชิมีโรงงานของตนเองในประเทศอาเซียน มีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน เช่น รถขนาดเล็ก หรือรถกระบะ ซึ่งก็เป็นผลิตภัณฑ์หลักในภูมิภาคนี้ ทำอย่างไรที่จะให้ทั้งคู่ดำเนินธุรกิจไปด้วยกัน ในบางกรณีเช่นผู้จัดจำหน่ายสามารถขายรถทั้งสองยี่ห้อและทำอย่างไรที่จะเสริมความเข้มแข็งของแบรนด์ในภูมิภาคนี้

อันดับแรกเลย ผมขออธิบายถึงความร่วมมือระหว่างพันธมิตรในตลาด เราจะใช้ความสามารถของแต่ละฝ่ายในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แน่นอนว่า ด้านการตลาดและการขายต้องแยกกันและต้องแข่งขันกันเอง ทำให้ตลาดมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงแข่งขันกับบริษัทอื่นๆด้วย สำหรับพันธมิตรเรโนลต์-นิสสันก็เป็นเช่นนี้ ด้านผู้จัดจำหน่ายคงไม่มีการทำเช่นนั้น เพราะทางมิตซูบิชิก็มีแนวทางของตัวเองในแต่ละด้านเหมือนของนิสสัน

ถามมร.โอซามุ มาซูโกะ คุณจะมีบทบาทอย่างไรในการเป็นซีอีโอร่วมของมิตซูบิชิร่วมกับ มร. กอส์น

มร. กอส์นเป็นผู้บริหารที่ทำงานหนัก ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก มร. กอส์นจะไม่ได้ดูแลการบริหารมิตซูบิชิ แต่จะเป็นหน้าที่ของผม (มร.มาซูโกะ) ผมเชื่อว่าบทบาทของมร. กอส์นที่มิตซูบิชิจะไม่ส่งผลกระทบต่อนิสสัน โดยทั้งสองบริษัทจะต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการร่วมธุรกิจ จากที่คุยกับ มร. กอส์น เราได้วางกลยุทธ์ร่วมกันในระยะกลางและระยะยาวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและพัฒนาศักยภาพองค์กรของเรา


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ