[MotulGP] โมตุลพาบุกหลังบ้าน Yamaha Tech3 ดูการทำงานระดับโปร Share this

[MotulGP] โมตุลพาบุกหลังบ้าน Yamaha Tech3 ดูการทำงานระดับโปร

Ken
โดย Ken
โพสต์เมื่อ 27 October 2559

นอกจากโมตุลจะพาเราเข้าร่วมชมศึกโมโตจีพี โมตุล กรังปรีซ์ ออฟ เจแปน ที่โมเตกิ ประเทศญี่ปุ่นแบบวีไอพีแล้ว งานนี้เรายังได้สิทธิ์ในการเข้าไปหลังแพ็ดด้อคของทีมที่ทางโมตุลเป็นสปอนเซอร์อยู่อย่าง มอนสเตอร์ ยามาฮ่า เทค3 อีกด้วย

งานนี้เราเลยได้พุดคุยและสอบถามถึงวิธีการทำงานของมืออาชีพในระดับเวิล์ดกรังปรีซ์กันแบบละเอียดทุกซอกทุกมุมจากผู้จัดการทีมของสองนักแข่ง เบรดลีย์ สมิธ และ โพล เอสปาร์กาโร

DSC04688

เรามัวแต่ตะลึงงั้นกับอุปกรณ์ข้าวของมากมายที่ถูกจัดแบ่งเอาไว้ด้านหลังแพ็ดด็อค จนเจ้าหน้าที่ต้องมาเรียกเราออกมายังบริเวณบ็อกซ์ที่นักแข่งใช้นั่งคุยกับทีมงานแบบที่เราเห็นกัน

หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จึงเริ่มอธิบายการทำงานทั้งหมดของทีมทั้งทีมที่ต้องแบ่งพิทของหนึ่งทีมออกเป็นสองส่วน สำหรับนักแข่งทั้งสองคนในทีมและรถแข่งที่เตรียมเอาไว้สำหรับสถานการณ์และการเซ็ตอัพที่ต่างกันออกไป

DSC04681

DSC04682

รถแข่งระดับโมโตจีพีนั้นมีระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เจ๋งกว่า IMU ที่เราคุ้นๆ กันในรถซุเปอร์ไบค์ยุคใหม่แต่ไม่เพียงแค่จับองศาการเลี้ยวแต่จับได้ถึงการใช้คันเร่ง เบรก รวมถึงระยะยุบของโช้ค ทั้งอย่างประมวลค่าออกมาแบบโค้งต่อโค้ง คันเร่งต่อคันเร่ง

นักแข่งแต่ละคนคนก็จะมีทีมช่างส่วนตัวรวมถึงฝ่ายเทคนิคที่คอยวิเคราะห์สถานะของตัวรถ ณ ขณะนั้นในแต่ละการใช้งานตลอดเวลาร่วมกับฝ่ายเทคนิคของยามาฮ่าที่จะช่วยกันประมวลผลและพิจารณาทิศทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คือหนุ่มๆ ที่นั่งเฝ้าหน้าจอคอมอยู่ในแพ็ดด็อคตลอดเวลาเนี่ยล่ะที่คอยประมวลค่าต่างๆ ออกมา

DSC04683

ถึงแม้ทั้งสองคนจะมีช่างที่เซ็ตอัพรถคนละชุดกันแต่ ทีม มอนสเตอร์ ยามาฮ่า เทค3 นั้น จะมีทีมช่างที่ดูแลระบบช่วงล่างเพียงคนเดียวที่คอยเซ็ทอัพให้กับรถทั้งสองคัน โดยมีโซนจัดเตรียมและทำงานอยู่บริเวณด้านหลังแพ็ดด็อค

DSC04695

ตัวรถแข่งนั้นนั้นปรับแต่งได้ทุกอย่างทุกรายละเอียดทั้งระยะฐานล้อ ทุกอย่างเพื่อให้เหมาะสมกับสนาม อย่างโมเตกิเองเป็นสนามที่มีระยะทางยาวและเป็นโค้งเปิดส่วนมาก ดังนั้นหน้าที่ของทีมคือจะทำอย่างไรเพื่อให้ตัวรถนั้นมีความเสถียรมากที่สุดในการเปิดคันเร่งได้อย่างเต็มที่และสม่ำเสมอ

DSC04692

DSC04700

ในยุคที่ระบบอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญ ระบบต่างๆ ช่วยให้นักแข่งควบคุมรถได้ดีขึ้น กฎการเปลี่ยนอีซียูในปีนี้ทำให้ทีมก็เจอกับปัญหาในการเซ็ทอัพด้านต่างๆ อย่างระบบป้องกันล้อหน้ายกลอยขึ้นมานั้นมีข้อจำกัดมากกว่าเดิมทำให้รถใช้พละกำลังได้ไม่เต็มที่

แม้ ยามาฮ่า วายแซดอาร์-เอ็ม1 เองจะมีแรงม้ามากถึง 260-280 แรงม้าก็ตามแต่ด้วยอีซียูที่ต่างไปจากก่อนหน้าทำให้ทีมดึงพลังออกมาใช้ได้ไม่ทังหมดอย่างที่ควร แต่ก็เป็นโอกาสให้กับบรรดาทีมเล็กๆ ได้ขึ้นมาอยู่ในแถวหน้าบ้าง

DSC04697

DSC04699

DSC04826

นอกจากบรรดาหนุ่มๆ ที่วุ่นอยู่ในแพ็ดด็อคแล้ว ที่ด้านหลังยังมีทีมเซอร์วิสที่ดูแลส่วนต่างๆ รวมถึงอะไหล่ที่สต๊อกไว้สำรอง ในส่วนของด้านหลังพิทเองก็ที่เป็นสต๊อกอะไหล่ทุกอย่าง มุมพักผ่อนเล็กๆ ช่วงที่นั่งแข่งออกไปซ้อมและยังมีเครื่องชงกาแฟประจำทีมสำหรับบรรดาทีมงานทั้งหลายอีกด้วย

DSC04680

ช่วงเวลาแค่ 10-15 นาที เราคงไม่ได้สืบข้อมูลอะไรมาได้มาแต่ก็นับเป็นโอกาสอันมีค่าที่โมตุลจัดหามาให้เราได้นำมาฝากแฟนๆ กัน แต่เรื่องราวทั้งหมดของซึกโมโตจีพีโซนเอเชียสนามแรกยังไม่หมดเท่านี้อย่างแน่นอน

อ่านข่าวอื่นที่น่าสนใจ คลิกที่นี่

มองหาแหล่งซื้อรถยนต์มือสองที่ไว้ใจได้ คลิกที่นี่


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ