ทำอย่างไร...ถ้ารถเบรกแตกแบบไม่ทันตั้งตัว Share this

ทำอย่างไร...ถ้ารถเบรกแตกแบบไม่ทันตั้งตัว

Satapana
โดย Satapana
โพสต์เมื่อ 13 December 2559

'เบรกแตก' คือปัญหาน่ากลัวที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเจอ เพราะเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว จากที่เคยเป็นเจ้านายของรถ รถยนต์ของคุณกลับแปรเปลี่ยนกลายเป็น 'เจ้านาย' ที่อาจไม่ฟังคำสั่งอะไรของคุณเลย เรียกว่าน่ากลัวยิ่งกว่าม้าพยศเลยทีเดียว

อาการ 'เบรกแตก' เกิดจากอาจมีการรั่วซึมขึ้นได้จากการรั่วของลูกยางตัวใดตัวหนึ่งหรือท่อน้ำมันเบรกรั่ว และอาจมาจากการขาดการดูแลรักษาระบบห้ามล้ออย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผ้าเบรก ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร สิ่งที่จะทำให้คุณรอดจากปัญหานี้ได้ ไม่ใช่การคิดถึงสาเหตุของปัญหาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรทำตามวิธีดังต่อไปนี้ด้วย

https://img.icarcdn.com/autospinn/body/iStock-475839378.jpg

ตั้งสติให้มั่น แล้วใช้แตรให้เกิดประโยชน์

เมื่อรู้ตัวว่าเหยียบเบรกแล้วรถไม่หยุดได้ดังใจ สิ่งแรกที่ควรทำไม่ใช่ดึงเบรกมือ แต่ควรดึงสติหรือตั้งสติอยู่กับตัวแล้วจับพวงมาลัยให้มั่น ไม่ป่ายส่ายป่ายขวา จากนั้นพาตัวรถไปอยู่เลนซ้ายถ้ามีที่ว่างเพียงพอ ระวังอย่าไปตัดหน้ารถคันอื่นเข้านะคะ และที่สำคัญหมั่นบีบแตรเพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้กับผู้ร่วมถนนคันอื่นๆ วิธีการนี้จะช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ค่ะ

ถอนคันเร่ง พร้อมผ่อนเกียร์ต่ำ

รถยนต์ทำมาจากวัสดุที่มีน้ำหนัก แม้ระบบเบรกจะไม่ทำงาน ก็ยังมีความหน่วงอยู่ค่ะ ไม่มีทางที่จะลอยฉิวเหมือนปุยนุ่นแบบหนังฮอลลีวูดแน่นอน ดังนั้น เหยียบคลัทช์ ลดตำแหน่งเกียร์ สำหรับรถเกียร์ธรรมดา ส่วนในเกียร์อัตโนมัติจากเกียร์ที่ใช้อยู่คือเกียร์ D ให้ปรับจากเกียร์ D ไป S หากรถปรับระดับความเร็วแล้วได้ประมาณ 40-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็ให้ปรับจาก S ไปที่เกียร์ L พูดง่ายๆ ว่าให้ปรับเกียร์ต่ำลงเป็นระยะๆ ตามความเร็วรถนั่น จำไว้ว่าห้ามเปลี่ยนมาเป็น L ทันทีโดยเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจจะพบว่าเครื่องยนต์พังก็เป็นไปได้ และการปรับเกียร์ลงต่ำสุดในขณะที่รถกำลังวิ่งเร็วมากๆ ทำให้รถกระชากเสียหลักได้เช่นกัน

https://img.icarcdn.com/autospinn/body/iStock-614617308.jpg

เบรกทั้งมือและเท้า

หลายคนมักดึงเบรกมือทันทีเมื่อรู้ว่าเบรกแตก ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดมากๆ เพราะการดึงเบรกมือในขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูง อาจทำให้รถเสียหลักพุ่งชนกับคันอื่นได้ ดังนั้น ควรค่อยๆ ดึงเบรกมือไปพร้อมๆ กับที่ย้ำเบรกเท้า หลายคนอาจคิดว่าเบรกเท้าคงช่วยอะไรไม่ได้แล้ว แต่ระบบเบรกมักแบ่งการทำงานออกเป็น 2 วงจร อาจเป็นแบบล้อคู่หน้าและล้อคู่หลัง หรือเป็นแบบไขว้ล้อหน้าซ้าย-ล้อหลังขวา และล้อหน้าขวา-ล้อหลังซ้าย ดังนั้น เมื่อเบรกแตกหรือน้ำมันเบรกเกิดการรั่ว ส่วนใหญ่มักหลงเหลือประสิทธิภาพการทำงานอยู่บ้าง การเหยียบซ้ำแรงๆ และถี่ๆ เพื่อใช้แรงดันในวงจรที่เหลือยู่ อาจช่วยสร้างแรงเสียดทานให้ผ้าเบรกได้ค่ะ

ไม่ว่าเหตุการณ์ 'เบรกแตก' จะมีโอกาสเกิดขึ้นกับคุณหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่คุณควรทำเพื่อป้องกันคือเช็คระบบเบรกสม่ำเสมอ โดยสิ่งที่ควรเช็คได้แก่

น้ำมันเบรก เพราะอาจมีการแตกชำรุดของอุปกรณ์บางส่วน จนทำให้น้ำมันเบรกรั่วซึมออกมาและไม่สามารถส่งถ่ายแรงดันไปที่กระบอกสูบเบรกได้

ผ้าเบรก หากปล่อยให้ผ้าเบรกหมด ตัวผ้าเบรกจะบางจนหลุดจากฝักก้าม และทำให้ลูกสูบหลุดได้

สายเบรกอ่อน เป็นกรณีที่พบบ่อยที่สุด อาจเกิดจากการเบรกแรงๆ บ่อยๆ จนทำให้สายเบรกอ่อนแตกได้

อุปกรณ์อื่น เช่น ฝักเบรก คาริปเปอร์ เป็นต้น

นอกจากนั้น เจ้าของรถยนต์ทุกคันควรทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้ เผื่อเกิดโชคชะตาเล่นตลกขึ้นมาจริงๆ สำหรับใครที่ยังไม่มีประกันภัยรถยนต์แล้วไม่รู้จะซื้อที่ไหน เราขอแนะนำให้ลองเปรียบเทียบประกันที่ถูกใจและเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์กับ rabbit finance ที่นอกจากจะได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ครบถ้วนไม่ต่างจากการซื้อกับตัวแทนแล้ว อาจได้ประกันภัยรถยนต์ดีๆ ในราคาที่ถูกกว่า พร้อมรับของสมนาคุณอีกหลายรายการเลยค่ะ

ที่มา: rabbit daily


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ