น้ำมันเครื่อง แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร มีประเภทไหนบ้าง รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร Share this
วิดีโอรถยนต์
โหมดการอ่าน

น้ำมันเครื่อง แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร มีประเภทไหนบ้าง รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร

Ballarnut
โดย Ballarnut
โพสต์เมื่อ 02 December 2556

 น้ำมันเครื่อง มีกี่ประเภท เลขเบอร์น้ำมันเครื่อง หมายความว่าอะไร รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร วันนี้ Autospinn ได้นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ น้ำมันเครื่อง มาฝากกัน เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม


น้ำมันเครื่อง แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร

น้ำมันเครื่อง หรือ Engine Lubricant ถือเป็นสารหล่อลื่นที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งในกระบวนการทำงานของเครื่องยนต์ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ใช้รถเกือบจะทุกคนคงเคยผ่านการ ถ่ายน้ำมันเครื่อง ให้กับรถของตัวเองมาบ้าง แล้วเคยสงสัยไหมว่า น้ำมันเครื่องที่มีอยู่มากมายในท้องตลาดมันต่างกันอย่างไร และแบบไหนที่เหมาะกับรถของคุณกันแน่

 

ประเภทของน้ำมันเครื่อง

ก่อนอื่นเราต้องแบ่งแยกประเภทของน้ำมันเครื่องกันให้ได้ก่อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด หรือจะเรียกว่า 3 เกรด

1. น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว หรือแบบพื้นฐาน

น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว หรือแบบพื้นฐานนี้ จะมีค่าความหนืดที่เหมาะสมกับอุณหภูมิเดียวตามฉลากบนแกลอน เช่น SAE 50 หรือ SAE40 ซึ่งหมายความว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้จะปกป้องเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด ที่อุณหภูมิ 50 หรือ 40 องศา ตามที่ระบุไว้

ซึ่งแบบนี้จะเหมาะกับรถรุ่นเก่าๆ ที่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำๆ หรือประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรา ข้อดีคือราคาถูก แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะอายุการใช้งานสั้น

น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว

2. น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad

น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad เป็นน้ำมันเครื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดได้ เช่น ในอุณหภูมิสูงก็จะมีความใส พออุณหภูมิต่ำลงก็ยังสามารถคงความข้นใสเอาไว้ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ในทุกอุณหภูมิของเครื่องยนต์

สังเกตง่ายๆ คือจะระบุค่าความหนีดมาให้ 2 ตัว โดยมีตัวอักษร W คั่นกลาง เช่น SAE 20W50 หรือ API 15W40 เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด หาซื้อได้ทั่วไป นิยมใช้กับรถรุ่นใหม่

น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad

 

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์" หรือ "Synthetic"

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ "Synthetic"  คือ น้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันแร่ ซึ่งได้จากกระบวนการทางปิโตรเลี่ยม เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าน้ำมันแร่ทั่วไป เช่น ความคงทนต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ อายุการเปลี่ยนถ่ายและการใช้งานนานขึ้น มีอัตราการระเหยต่ำลดปัญหาการสิ้นเปลืองหล่อลื่น รวมถึงแบบ กึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic) ที่ผลิตจากการนำน้ำมันแร่มาผสมกับน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์เพื่อเสริมคุณสมบัติให้ดีขึ้นกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป และมีราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์

 

อักษรย่อหน้าค่าความหนืด

ส่วนเจ้าอักษรย่อหน้าค่าความหนืด นั้นคือตัวย่อของสถาบันที่ทำการทดสอบและรับรองคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ซึ่งหลักๆ แล้วจะมีอยู่ 3 สถาบัน คือ

1. API หรือ AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัย และวางมาตราฐานเกี่ยวกับน้ำมันต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

2. SAE หรือ SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS อันนี้คือสมาคมที่ค้นคว้าวิจัยและวางหลักเกณฑ์มาตราฐานต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

3. ASTM หรือ AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS ซึ่งเป็นสมาคมที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทดสอบวัตถุต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบบนี้มีให้เห็นมากนัก

engine_lubricant_13

เลขเบอร์น้ำมันเครื่อง

คราวนี้ก็มาทำความเข้าใจกับตัวเลขและตัวอักษรที่เหลือว่ามันคืออะไร ซึ่งตรงนี้ควรใส่ใจเป็นพิเศษเพราะมันมีผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ และมีตัวเลขให้เลือกอยู่หลายชุดยก ตัวอย่างเช่น 0W-40, 5W-40, 10W-40, 5W-50 ซึ่งตัวเลขพวกนี้มันคือ ค่าความหนืด หรือ Viscosity ของน้ำมันเครื่อง

หรือที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า "ค่าความต้านทานการไหล" หรือความข้นเหนียวโดยธรรมชาติที่จะแปรผันตามอุณหภูมิ เช่น เมื่อได้รับความร้อนน้ำมันจะใส และ เมื่อได้รับความเย็นน้ำมันจะข้น

รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ น้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาวและน้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูร้อน โดยที่เบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่องในกลุ่มฤดูหนาว จะมีตัว W ซึ่งย่อมาจาก Winter ต่อท้าย ซึ่งวัดค่าความหนืดที่อุณหภูมิ -30 C ถึง - 5 C ส่วนประเภทนำ้มันเครื่องกลุ่มฤดูร้อนจะวัดค่าความหนืดที่ 100 C ได้แก่ SAE 20,30,40,50 และ 60 เบอร์ที่น้อยจะใสและเบอร์ที่มากกว่าข้นกว่า

น้ำมันเครื่อง

จากนั้นมาดูว่า อันไหนเป็น น้ำมันเครื่องสำหรับดีเซลหรือเบนซิน โดยสังเกตจาก มาตรฐาน API ซึ่งถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินจะมีตัวอักษร S หรือ (Service Stations Classifications) เช่น API-SG , API-SM และ API-SN เป็นต้น แต่ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะใช้อักษร C หรือ (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) เช่น CD , CE หรือ CF4

น้ำมันเครื่องสำหรับดีเซลหรือเบนซิน

ส่วนน้ำเครื่องที่ใช้ได้กับเครื่องยนต์ทั้ง 2 ประเภท นั้นจะมีตัวอักษรกำกับอยู่ 2 ส่วน เช่น API SN/CF หมายถึงน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมาตรฐาน SH และสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ด้วยเพราะผ่านมาตรฐาน CF แต่เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมากกว่าสังเกตุไม่ยากคือค่าอะไรขึ้นก่อนแสดงว่าเหมาะกับเครื่องยนต์ประเภทนั้น

20w50

เลือกน้ำมันเครื่องอย่างไร รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร

ทีนี้มาถึง วิธีเลือกน้ำมันเครื่อง ที่ในบ้านเรานั้นมีเบอร์น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมอยู่หลายเบอร์ด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันมากได้แก่เบอร์ SAE 15W/40 และ 20W/50 ซึ่งถ้าจะเลือกใช้เบอร์ที่ต่างไปจากนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ขอให้เลือกเบอร์ความหนืดในช่วงฤดูร้อน หรือเลขตัวหลังที่เป็นเบอร์ 30 ขึ้นไป เพื่อให้ทนกับสภาพอากาศร้อนๆ ในบ้านเรา

แต่โดยหลักๆ แล้วคุณควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดที่เหมาะสมกับสภาพของเครื่องยนต์ และสภาพการใช้งานของคุณ เช่น หากรถของท่านเป็นรถใหม่ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดใส จะช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น เช่น SAE 10W-30 เป็นต้น แต่หากรถของท่านเป็นรถเก่า มีอาการกินน้ำมันเครื่อง ถ้าจะเลือกใช้ น้ำมันเครื่องสำหรับรถเก่า ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดที่ข้นมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาการกินน้ำมันเครื่อง เช่น SAE 20W-50 เป็นต้น

engine_lubricant_8

หรือจะให้ชัวร์ ก็ควรที่จะเลือกใช้น้ำมันเครื่องตามมาตรฐานที่คู่มือกำหนด หรือไม่ก็เลือกเกรดสูงกว่า เพราะการใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้อีกนานแสนนาน

อ้อเมื่อเลือกกันถูกแล้วก็อย่าลืมเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดด้วยนะ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับระยะการเปลี่ยนนั้นเราจะนำมาฝากแน่นอนในครั้งต่อๆ ไป

 

Text : อาณัติ สุทธิบุตร

เช็คราคารถใหม่ และโปรโมชั่น ได้ที่นี่

ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่

มาร่วมแชร์ความเห็นของคุณบนเวบบอร์ด Autospinn คลิกที่นี่

 


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ