ริวิว ทดสอบยาง Yokohama BluEarth-A ใหม่ ทั้งพื้นแห้งและเปียก ยึดเกาะบนพื้นเปียกดีขึ้น เทียบกับ Earth-1 Share this

ริวิว ทดสอบยาง Yokohama BluEarth-A ใหม่ ทั้งพื้นแห้งและเปียก ยึดเกาะบนพื้นเปียกดีขึ้น เทียบกับ Earth-1

Pon Piantanongkit
โดย Pon Piantanongkit
โพสต์เมื่อ 28 February 2557

เมื่อวานนี้ 27 กพ. 2014 ทาง Yokohama ได้จัดกิจกรรมทดสอบยางใหม่ BluEarth-1 พร้อมเปิดตัว ซึ่งบินไปจัดไกลกันถึงอุทยานสวนราชพฤกษ์ เชียงใหม่

Yokohama-BluEarth-Ace-TestDrive_13

โดยการมาของยาง Yokohama BluEarth-A นี้เป็นยางนำเข้าจากญี่ปุ่น โดยจะมาทำตลาดทดแทนรุ่น Earth-1 ซึ่งจะเข้ามาแทรกอยู่ระหว่าง รุ่น AE-01 และ Advan db

ชูจุดขายในเรื่อง ความประหยัดเชื้อเพลิง จากค่าการต้านทานการหมุนที่ต่ำ จากไหล่ที่มีรอยบุ๋มทั้งด้านนอกและใน นอกจากนั้นที่สำคัญ คือเน้นการยึดเกาะที่ดีบนพื้นถนนเปียก ไม่ว่าจะเป็นร่องดอกยางสายฟ้าฟาด ดีไซน์ยางแบบ Asymmetrical รวมถึงส่วนผสมของยางแบบพิเศษ Silica 2 ชนิด, น้ำมันส้ม และพอลิเมอร์ผสม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการยึดเกาะบนถนนที่เปียก และปิดท้ายเรื่องความสบายในการโดยสารอย่างที่ยังคงความนุ่มนวล และเสียงรบกวนที่ต่ำอีกด้วย

Yokohama-BluEarth-Ace-TestDrive_21

Yokohama BluEarth-A มีให้เลือกตั้งแต่ขนาด 14-17” หน้ากว้าง 175-245 และมีขนาดแก้มยางตั้งแต่ 40-65 รวมทั้งสิ้น 30 ขนาด ราคาตั้งแต่ 2,125 – 6,500 บาท/เส้น

ขออนุญาต ไม่เกริ่นกันมาก เข้าสู่ในรูปแบบการทดสอบยางกันเลยแล้วกัน การทดสอบได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.การขับแบบคาราวาน กันไป โดยมีผู้ขับ 2 คน /1 คัน และ 2.การขับทดสอบสมรรถนะเพื่อให้เห็นความแตกต่างบนพื้นผิวเปียก

จะเป็นยังไง สมกับสโลแกน Extreme Grip with environmental performance หรือไม่ ต้องมาดูกัน

Yokohama-BluEarth-Ace-TestDrive_20

1. การขับทดสอบรูปแบบคาราวาน โดยใช้รถ Corolla Altis 1.6 ปี…. เกียร์ออโต้ 4 Speed สวมยาง BluEarth-1 ขนาด 195/65/15 วิ่งออกจากสวนราชพฤกษ์ ไปยังไร่สตรอเบอรี่แห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสวนราชพฤกษ์ เพื่อเล่นเกมทำกิจกรรม ก่อนที่จะเปลี่ยนคนขับ และวิ่งกลับมายังสวนราชพฤกษ์ อีกครั้ง โดยในการขับทดสอบแบบคาราวาน นี้ จะเป็นการจำลองการใช้งาน บนเส้นทางบนเขา ที่มีทางคดเคี้ยว และชัน ซึ่งใช้ความเร็วต่ำในการเดินทางเป็นหลัก เพื่อการทดสอบความนุ่มสบายของหน้ายาง บนสภาพพื้นถนนลูกรัง นอกจากนั้นการใช้ความเร็วที่ระดับประมาณ 80-100 กม./ชม. ทำให้เรารู้สึกได้ถึงความเงียบของยาง จากเสียงที่เข้ามาจากพื้นของห้องโดยสารที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับความรู้สึกที่ได้ การขับบนทางราบเสียงที่ได้ค่อนข้างเงียบ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจาก เทคโนโลยี Noise Controlled Pitch ที่ช่วยลดเสียง จากบล๊อกดอกยางขนาดเล็ก และมีความละเอียดถึง 84 บล๊อกด้วยกัน

Yokohama-BluEarth-Ace-TestDrive_18

โดยในการทดสอบด้านความนุ่มนวล ด้วยความที่รถที่ใช้ทดสอบเป็น Toyota Altis ซึ่งมีช่วงล่างที่ค่อนข้างนิ่มระดับหนึ่ง ร่วมกับการใช้ล้อขอบ 15” ที่มีแก้มยางถึง 65mm ส่งผลให้ การซึมซับแรงกระแทกต่างๆ จึงออกมานุ่ม ไม่รู้สึกแข็งแต่อย่างใด โดยส่วนตัวแล้ว ทางรถบ้านของผู้เขียนก็ได้ใส่ยาง Earth-1 ขอบ 15” อยู่พอดี ซึ่งใช้ในรุ่น Honda Odyssey เจนเนอเรชั่นแรก ซึ่งช่วงล่างนี้เรียกได้ว่า เป็นรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่งของ Honda ที่นุ่มมากที่สุดรุ่นหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยรวมแล้ว ด้านความนุ่มนวล อาจมีหลายปัจจัย ทั้งตัวรถเอง ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก และสภาพพื้นถนนในการเดินทางด้วย ซึ่งทางผู้เขียนต้องขอบอกว่า ในเรื่องความนุ่มนวล เป็นสิ่งที่ผู้เขียนอาจไม่ได้เน้นมากนัก เพราะอาจการันตีไม่ได้ว่า มันนุ่มขึ้นกว่ารุ่นเดิม แต่สำหรับเรื่องความเงียบนั้น ถือว่าทำได้ค่อนข้างดีในระดับหนึ่ง ที่คิดว่ารถยนต์ Altis วิ่งที่ความเร็วในระดับ 100 กม./ชม. แล้ว เสียงจากลม ดูจะส่งเสียงดังมากกว่าเสียงจากพื้นถนน

Yokohama-BluEarth-Ace-TestDrive_28

2. รูปแบบการทดสอบแบบเน้นสมรรถนะ โดยใช้พื้นที่ลานจอดรถในสวนราชพฤกษ์ จัดแบ่งเป็นการทดสอบทั้งในส่วนของ Dry (พื้นผิวแห้ง) และ Wet (พื้นผิวเปียก) Track ซึ่งจะใช้การวิ่งแบบ ซิกแซก สลาลอม เป็นเลข 8 โดยเริ่มจากการวิ่งใน Dry Track วนเป็นเลข 8 จบเสร็จ เลี้ยวออกไป ทำเช่นเดิมที่ Wet Track เสร็จแล้ว ขับออกมา เพื่อไปขับผ่าน ลูกระนาดจำลอง จนมาถึงการทดสอบวัดระยะเบรกบนพื้นเปียก โดยใช้ Performance Box วัดหน่วยเป็นเมตร

ซึ่งรถทดสอบจะมี 2 รุ่น คือ Toyota Altis 1.8 และ Honda Civic 1.8 ซึ่งจะสวมยาง ในรุ่น Earth-1 และ BluEarth-A ซีรีย์ 205/55/16 ทุกคัน โดยจะเริ่มวิ่งในคันที่ใส่ Earth-1 ก่อน เสร็จแล้วจึงขับรุ่น BluEarth-A ต่อเนื่องเลย

Yokohama-BluEarth-Ace-TestDrive_47

ทางผู้ขับ ได้รับมอบหมายให้ขับในรุ่น Toyota Altis

เริ่มที่ยางรุ่น Earth-1 ก่อน ทันทีที่ออกตัว และหักวงเลี้ยวหลบไพล่อน อาการของรถโยนออกตามโครงสร้างตัวถังรถ Grip หน้ายางยังยึดเกาะได้อย่างไม่มีอาการแต่อย่างใด เนื่องจากความเร็วยังไม่มากพอ ออกมาในช่วง U-Turn พบว่า ถ้าหาก มาเร็วไปหน่อยหน้ายางอาจมีสไลด์ ออกบ้างเล็กน้อยแต่ไม่ดังถึงขั้นกรีดร้องเสียงดัง ซึ่งมีผลมาจาก Handling ของ Toyota ที่ยังตอบสนองค่อนข้างช้า และวงเลี้ยวที่ยังดูไม่กระชับ จึงทำให้ตัวรถเกิดอาการบานออกเลี้ยวไม่ค่อยเข้าถ้ามาเร็วเกินไป เมื่อวนเข้าไปที่ Wet Track หักสลาลอม หลบไพล่อนแรก อาการโยนสไลด์ออกแสดงถึงความไม่มั่นคงมีออกมาบ้างแล้ว จากพื้นที่ถูกฉีดน้ำจนเปียกชุ่ม และในช่วง U-Turn กลับรถ ตรงนี้อาการออกเห็นได้ชัดการกรีดร้องจากหน้ายาง และผ่านไปในส่วนทดสอบความนุ่มจากการผ่านลูกระนาดที่ความเร็วประมาณ 20 กม./ชม. ก็มีสะเทือนให้เห็นกันบ้าง ตามสภาพช่วงล่างรถ ก่อนที่จะมาทดสอบระยะการเบรกบนพื้นถนนเปียก ซึ่งจุดนี้ Instructure ที่นั่งไปกับเราด้วย จะบอกให้ กดคันเร่งมิด จนถึงความเร็วประมาณ 65 กม./ชม. และ ยกคันเร่งออก จนความเร็วตกมาที่ 60 กม./ชม. ก่อนที่จะกระทืบเบรกสุดจน ABS ทำงาน และให้ Performance Box วัดค่าที่ได้ ซึ่งในรถ Toyota Altis ผู้เขียน ทำได้ที่ระยะ 16.4ม.

Yokohama-BluEarth-Ace-TestDrive_25

หลังจากเสร็จสิ้น ก็ขึ้นรถ Toyota Altis อีกคันที่สวมยาง BluEarth-A ต่อเลย การขับในช่วง Dry Track ไม่สัมผัสถึงความต่างกันมากนัก แต่พอมาช่วง Wet Track อันนี้เห็นชัดเจน อาการโยนตัวจากการหักหลบไพล่อน มีอยู่และ อาการไถลไม่เกาะถนนนั้นก็ยังมีให้เห็น แต่รู้สึกคุมได้ดีมั่นใจกว่า รุ่น Earth-1 เล็กน้อย และยิ่งชัดเจนในขณะที่กลับรถ Grip ดูแน่นกว่ามาก หน้ายางมีอาการไถลออกด้านข้างน้อยกว่า และยังไม่พบเสียงยางกรีดร้องออกมาจากการไถลบนผิวสัมผัสที่เปียกให้เห็น

และการทดสอบความนุ่มนวล ก็ยังรู้สึกไม่ต่างกัน แต่มาช่วงทดสอบระยะเบรก ทำได้ 14.6 ม.

จะเห็นได้ว่า ต่างกัน 1.8ม. คิดเป็นประมาณ 12.3%

Yokohama-BluEarth-Ace-TestDrive_56

เอาล่ะ เวลาเหลือ จึงมีโอกาสได้ลองในคัน Civic บ้าง การทดสอบโดยรวม เหมือนๆกัน จะมีจุดที่ต่างกัน ซึ่งสัมผัสได้ชัด อย่างแรกคือ Handing ที่ตอบสนองได้ดีกว่า วงเลี้ยวพวงมาลัยที่ควบคุมได้ฉับไว และกระชับต่อวงเลี้ยวมากกว่า แถมช่วงล่างที่ เฟิร์มแน่นกว่าด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้สัมผัสได้ทันทีตั้งแต่ ขับหักหลบไพล่อนแรก ส่งผลให้การยึดเกาะของ Civic จะทำออกมาได้ดีกว่า มีอาการโยนตัวน้อยกว่า แต่เราพูดถึงตัวยางเป็นหลัก ซึ่งก็จะเป็นเช่นเดียวกัน คือ Dry Track สัมผัสไม่ได้มากนัก แต่ Wet Track การยึดเกาะจะดีขึ้นอย่างชัดเจน มาถึงช่วงขับผ่านลูกระนาด Civic จะขับผ่านไปได้ค่อนข้างแน่นเแข็งกว่า Altis เล็กน้อยจากระบบช่วงล่างของตัวรถที่แตกต่างกัน และ ปิดท้ายที่ทดสอบระยะเบรก ค่าที่ได้ในรถ Honda Civic คือ 17.5 / 15.0ม. ในรุ่น Earth-1 / BluEarth-A ตามลำดับ ต่างกัน 2.5ม. คิดเป็นประมาณ 16.7%

Yokohama-BluEarth-Ace-TestDrive_58

Yokohama-BluEarth-Ace-TestDrive_57

เมื่อเทียบกับที่ทางบริษัทเคลม ว่า ระยะสั้นลง 20% จากความเร็ว 120-0 กม./ชม. โดยใช้ยางขนาด 205/55/16 เช่นกัน มีความเป็นไปได้สูง ไม่น่าจะ Overclaim จากการทดสอบที่ความเร็วระดับนี้

Yokohama-BluEarth-A_07

สรุป ยาง Yokohama BluEarth-A ช่วงเพิ่มความมั่นใจที่ดีมากขึ้นกับ การขับขี่บนสภาพถนนที่เปียก ยิ่งในช่วงฤดูฝนที่ ต้องขับรถกันด้วยความระมัดระวัง สำหรับในพื้นถนนที่แห้ง ถือว่า อาจจะยังสัมผัสไม่ได้นัก เนื่องจากความเร็วที่ใช้ในการทดสอบยังไม่มากพอด้วยส่วนหนึ่ง

แต่นอกเหนือจากนั้น สมรรถนะที่ดีขึ้นอย่างเดียว ไม่พอ ในเรื่องการความสบายในการโดยสาร ต้องมีมาด้วย การส่งเสียงรบกวน ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ น่าพึงพอใจในระดับหนึ่ง กับด้านความนุ่มนวลถือว่า ไม่ได้แตกต่างจาก Earth-1 รุ่นเก่า ซึ่งถือว่ามีดีพอสมควรอยู่แล้ว

สำหรับยางมีให้เลือกตั้งแต่ขนาด 14-17” หน้ากว้าง 175-245 และมีขนาดแก้มยางตั้งแต่ 40-65 รวมทั้งสิ้น 30 ขนาด ถือว่าครอบคลุมตั้งแต่ Eco Car ยันถึงรถในระดับ D-Segment ที่ใช้ขอบ 17” ซึ่งใช้ได้กับรถยุโรป อีกหลายรุ่นที่ใช้ขอบ 17” อีกด้วย มีราคา 2,125 – 6,500 บาท/เส้น ผู้ใดสนใจอาจต้องลองไป ดูที่สอบถามราคายาง ในรุ่นที่ท่านต้องการใช้โดยตรง

ขอขอบคุณ บริษัท Yokohama Tires Sales (ประเทศไทย) สำหรับการทดสอบในครั้งนี้

ภณ เพียรทนงกิจ Test Driver

ชมภาพเพิ่มคลิ๊ก


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ