บีเอ็มดับเบิลยู จัดเสวนา “The Future of Mobility” Share this

บีเอ็มดับเบิลยู จัดเสวนา “The Future of Mobility”

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 24 June 2562

บีเอ็มดับเบิลยู ตอบรับกระแสโลกเข้าสู่ยุคของยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จัดงานเสวนา “The Future of Mobility” ระดมผู้เชี่ยวชาญร่วมพูดคุยถึงทิศทางของระบบคาร์แชร์ริ่ง (Car Sharing) พร้อมผู้บริหารฯแสดงวิสัยทัศน์


คริสเตียน วิดมานน์ ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า ในปี 2561บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ได้สร้างสถิติใหม่ด้วยอัตราการเติบโตปีต่อปีของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูที่ 20% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในเครือข่ายบีเอ็มดับเบิลยูทั่วโลกถึงสองปีซ้อน สะท้อนการเป็นแบรนด์ชั้นนำในตลาดอย่างต่อเนื่อง

อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ยืนยันถึงความสำเร็จ ก็คือ ยอดการส่งมอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ในประเทศไทยที่พุ่งสูงขึ้นถึง 122% ในปีที่ผ่านมา ซึ่งเร็วๆ นี้จะมีรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดรุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาดในเมืองไทยอย่างแน่นอน เพื่อต่อยอดความสำเร็จหลังจากการเปิดตัวของบีเอ็มดับเบิลยู 530e บีเอ็มดับเบิลยู 740Le บีเอ็มดับเบิลยู i8 Coupe และบีเอ็มดับเบิลยู i8 Roadster

นอกจากนี้ ได้ขยายเครือข่ายการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดอย่างต่อเนื่อง สานต่อจากการริเริ่มโครงการ ChargeNow เมื่อปี 2560 โดยมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่สมาชิก ChargeNow ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถยนต์รุ่นใดหรือยี่ห้อใดก็ตาม สามารถมาใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย ที่สถานี ChargeNow ทุกสาขา โดยปัจจุบันให้บริการทั้งหมด 121 หัวจ่าย ทั้งที่สถานี ChargeNow และที่ผู้จำหน่ายอย่างเป็นทางการของบีเอ็มดับเบิลยู ใน 57 แห่งทั่วไทย

ขณะเดียวกันได้เริ่มต้นการประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงในไทย ทั้งการประกอบโมดูลแบตเตอรี่และการประกอบตัวแบตเตอรี่แพ็ค ซึ่งจะเริ่มต้นสายการประกอบในปี 2562 โดยแบตเตอรี่แรงดันสูงที่ประกอบสมบูรณ์แล้ว จะถูกส่งไปยังโรงงานบีเอ็มดับเบิลยูที่ระยอง เพื่อติดตั้งในรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในตระกูลบีเอ็มดับเบิลยู ซีรี่ส์ 5 และบีเอ็มดับเบิลยู ซีรี่ส์ 7 เริ่มต้นเฟสแรก ภายในปีนี้เป็นต้นไป

นอกจากนี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ยังได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการลงทุนเพิ่มเติมด้วยมูลค่ากว่า 700 ล้านบาท สำหรับการประกอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในอนาคต

แอนเดรียส อัลมานน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าและ บีเอ็มดับเบิลยู i บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าว่า ยอดการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าและปลั๊กอินไฮบริดทั่วโลก มากกว่า 140,000 คัน ในปี 2561 โดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มียอดการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์บีเอ็มดับเบิลยู และมินิ ทั่วโลก รวมทั้งสิ้น 142,617 คัน นับเป็นอัตราการเติบโตถึง 38.4%

ภายในปี พ.ศ. 2564 บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป จะมีรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 5 รุ่น คือ บีเอ็มดับเบิลยู i3 มินิ อิเล็คทริค บีเอ็มดับเบิลยู iX3 บีเอ็มดับเบิลยู i4 และบีเอ็มดับเบิลยู iNEXT และภายในปี พ.ศ. 2568 บีเอ็มดับเบิลยู i จะมีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งหมด 25 รุ่น ประกอบด้วยรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ถึง 12 รุ่น ขณะที่แบรนด์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ภายใต้ความดูแลของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ก็ยังมีเป้าหมายที่จะพัฒนานวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

 “ปี 2564 เป็นต้นไป สายการประกอบรถยนต์จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ รถยนต์ระบบปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป จะใช้สายการประกอบร่วมกัน ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะสามารถกำหนดได้อย่างรวดเร็วว่า รถยนต์รุ่นใดที่จะประกอบด้วยเครื่องยนต์ไฟฟ้าล้วน ขับเคลื่อนด้วยปลั๊กอินไฮบริด หรือเลือกใช้เครื่องยนต์สันดาปที่มีประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงานที่เหนือกว่า”

อนาคตที่สดใสของระบบการใช้ยานพาหนะร่วมกัน (Car Sharing) โดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย พร้อมด้วยภาครัฐและพันธมิตรภาคเอกชน ร่วมจับมือผลักดันประเทศไทยสู่อนาคตคาร์ แชร์ริ่งปลอดมลพิษ

ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และประธานคลัสเตอร์วิจัยยานยนต์ มจธ. กล่าวว่า Charge & Share เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นโดยกลุ่มคลัสเตอร์วิจัยยานยนต์ของ มจธ. ด้วยเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรั้ว มจธ. ให้เป็นรูปธรรม และเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาเป็น Car Sharing เพื่อศึกษาพฤติกรรมของคนไทยในการใช้งานระบบดังกล่าวด้วย ความร่วมมือกับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะนำประเทศไทยนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน

สำหรับโครงการ Charge & Share นั้น มจธ. ได้เปิดสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขึ้น โดยมีรถยนต์ให้บริการในรูปแบบ Car Sharing ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถยนต์ไฟฟ้า บีเอ็มดับเบิลยู i3 ซึ่งบุคลากรของมหาวิทยาลัยนำไปใช้ในงานราชการ พร้อมเก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ เพื่อศึกษาลักษณะการใช้งาน รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ควบคู่กับการศึกษาพฤติกรรมของคนไทยในการใช้บริการระบบ Car Sharing และ EV Car Sharing เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และระบบ Car Sharing นั้นได้รับความร่วมมือจากบริษัท ฮ้อปคาร์ ผู้ให้บริการ Car Sharing แห่งแรกในประเทศไทย ในการช่วยบริหารจัดการระบบการจองและคืนรถ รวมไปถึงให้บริการผู้ใช้อีกด้วย

การบริการของฮ้อปคาร์ เน้นให้เช่ารถยนต์คันเล็ก อีโคคาร์ เหมาะสำหรับขับขี่ในเมือง โดยขณะนี้ มีรถยนต์ให้บริการทั้งหมดประมาณ 200 คัน และมีฐานลูกค้ากว่า 60,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้บริการอยู่ในกรุงเทพฯ ก้าวต่อไปของฮ้อปคาร์ คือยกระดับบริการสู่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ electric car sharing โดยปัจจุบันได้นำรถยนต์ไฟฟ้าอย่างบีเอ็มดับเบิลยู i3 มาทดลองใช้ และในอนาคตจะทยอยเพิ่มจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าต่อไป

เช็คราคารถใหม่ และโปรโมชั่น ได้ที่นี่ ที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่
มาร่วมแชร์ความเห็นของคุณบนเวบบอร์ด Autospinn คลิกที่นี่


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ