กรุ๊ปเอ็ม เผยพฤติกรรมผู้บริโภคพึ่งพาการใช้จ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์และอีคอมเมิร์ซมากขึ้น Share this

กรุ๊ปเอ็ม เผยพฤติกรรมผู้บริโภคพึ่งพาการใช้จ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์และอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

Tadsaneeya
โดย Tadsaneeya
โพสต์เมื่อ 13 April 2563

สถานการณ์การระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในระดับโลกซึ่งรวมถึงประเทศไทย จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นในระยะเวลาอันสั้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประไทย


จากสถานการณ์นี้ กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย หรือ GroupM กลุ่มเอเยนซี่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อชั้นนำระดับโลกในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) จับมือกับเอเยนซี่ในเครือได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์ รวมถึงพาร์เนอร์อย่าง คันทาร์ ผู้นำด้านการวิจัย และ ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ทำการสรุปภาพรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศ และระดับธุรกิจสินค้าและบริการในแต่ละหมวดหมู่ พร้อมเสนอข้อแนะนำถึงแนวทางการปฏิบัติสำหรับนักโฆษณาและการตลาด เพื่อที่จะได้เข้าใจ เตรียมตัว และปรับแผนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นผ่านบทความ Coronavirus in Thailand – Trends & Implications for Brands and Marketers

ภาพรวมของผลกระทบจากไวรัสโคโรน่าในประเทศไทย

จากข่าวการเริ่มระบาดของไวรัสโคโรน่าตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างได้ร่วมกันออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อร่วมกันสกัดและลดความเสี่ยงให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ ตัวอย่างของมาตรการเหล่านี้ได้แก่

  • การนำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแพร่ระบาดของไวรัส
  • การรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการป้องกันตัวเองผ่านการรักษาความสะอาด เช่น การสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมืออย่างถูกต้อง
  • การตั้งข้อกำหนดให้พนักงานบริษัทได้ทำงานจากที่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านพื้นที่เสี่ยง
  • การออกข้อกำหนดเพื่อปิดพื้นที่ส่วนกลาง สถานที่สาธารณะ ห้างสรรพสินค้า
  • การประกาศเลิกเทศกาลสงกรานต์ประจำปี
  • การหยุดการให้บริการชั่วคราวของ 5 สายการบินจากจำนวน 6 สายในประเทศไทย การปิดน่านฟ้าและการกำหนดให้มีการกักตัว 14 วันสำหรับคนไทยเพื่อป้องกันไม่ให้นักเดินทางจากประเทศที่เป็นเขตพื้นที่โรคเสี่ยงได้เข้ามายังในประเทศไทย
  • และล่าสุดคือการที่รัฐบาลได้มีการประกาศเคอร์ฟิวห้ามไม่ให้ประชาชนออกจากบ้านในช่วงเวลาระหว่าง 22.00 - 04.00 นาฬิกา

ทั้งหมดนี้เพื่อควบคุมการติดเชื้อระหว่างคนภายในประเทศ ที่ปัจจุบันเพิ่มจำนวนขึ้นถึงกว่า 2,000 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 6 เมษายน 2563)

มาตรการและเหตุการณ์ข้างต้นส่งผลโดยตรงต่อการหยุดชะงักของกลไกต่าง ๆ ของประเทศ ทั้งในแง่เศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของผู้บริโภค จากผลวิจัยโดย คันทาร์ พบว่าคนไทยมีความกังวลมากขึ้นในเรื่องของความปลอดภัยและสถานภาพทางการเงินของตัวเองมากขึ้น โดย

  • 66% ของผู้บริโภคไทยเริ่มหันมาให้ความสำคัญในด้านการวางแผนการใช้เงิน
  • 54% เป็นห่วงถึงอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทย
  • และอีก 52% เริ่มมีความกังวลต่อสุขภาพของตนเอง

ซึ่งตัวเลขนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับผลการวิจัยผู้บริโภคของ กรุ๊ปเอ็ม ที่พบว่าพฤติกรรมการค้นหาแพ็คเกจประกันชีวิตหรือโปรแกรมที่รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดจากการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส หรือ โควิด-19 ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

จากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงคุณภาพของ กรุ๊ปเอ็ม กับผู้บริโภคชาวไทยทั่วประเทศพบว่าคนไทยเริ่มมีความตระหนักและมีการกล่าวถึงโคโรน่าไวรัสตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมโดยเฉพาะบนสื่อโซเชียลมีเดีย โดยมีการพูดถึงมากขึ้นภายหลังจากที่มีการเรียกชื่อไวรัสนี้ใหม่เป็น โควิด-19 และมีความตื่นตัวหลังจากมีข่าวผู้เสียชีวิตรายแรก
ทั้งนี้ข้อมูลจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE โดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ระบุว่าระหว่างเดือนมกราคมจนถึงกลางเดือนมีนาคม มีการกล่าวถึงเรื่องเชื้อไวรัสโควิด-19 จากผู้บริโภคชาวไทยมากกว่า 148 ล้านข้อความ โดยแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้ในการพูดและกล่าวถึงสถานการณ์นี้คือ Twitter อยู่ที่ 65% และอีก 20% อยู่บน Facebook
อีกหนึ่งพฤติกรรมที่น่าสนใจของคนไทยภายหลังจากการที่ภาครัฐและเอกชนส่วนใหญ่ได้ร่วมมือกันรณรงค์ให้ประชาชนกักตัวและทำงานจากที่บ้านพบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงในการใช้เวลาบน
แพลตฟอร์มทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนหน้าอย่างเช่นเรื่องของฝุ่น PM2.5

ทั้งนี้พบว่าคนไทยมีการปรับตัวโดยพึ่งพาการใช้จ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์และอีคอมเมิร์ซมากขึ้น โดย

  • 52% เริ่มสมัครดู Streaming แบบจ่ายเงิน
  • 44% เริ่มสั่งอาหารออนไลน์ (หรือสั่งมากขึ้น) ทั้งนี้การสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มผ่านช่องทางออนไลน์ได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 116%

มุมมองและคำแนะนำธุรกิจสินค้าและบริการในแต่ละหมวดหมู่จากสถานการณ์ ณ เวลานี้

หมวดหมู่ยานยนต์

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้มีการเลื่อนการจัดงานใหญ่ประจำปีอย่าง บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2020 ครั้งที่ 41 ออกไป ในทางกลับกันสำหรับมุมมองทางด้านเศรษฐกิจ พบว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะลดพฤติกรรมการใช้เงินลงและเริ่มที่จะวางแผนการใช้เงินอย่างรัดกุมมากกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา จึงมีการคาดการณ์ว่าความต้องการในการซื้อที่มีต่อสินค้าหมวดยานยนต์จะลดลงกว่าปีที่แล้ว

การเลื่อนการจัดงานมอเตอร์โชว์ส่งผลให้โอกาสในการเข้าถึงแบรนด์ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ลดลง โดยแบรนด์ควรทำการปรับกลยุทธ์เพื่อเข้าหาผู้บริโภคที่ยังมีความต้องการซื้อผ่านการใช้ Search Engine Marketing รวมไปถึงการให้โปรโมชั่นและข้อเสนอที่น่าสนใจเพื่อที่จะทำการปิดการขายกับผู้บริโภคที่มีความสนใจอยู่แล้วให้เร็วที่สุด

หมวดหมู่อสังหาริมทรัพย์

การระบาดของไวรัสในระยะแรกที่จะเทศจีนส่งผลถึงการหยุดสายงานผลิตเหล็กเส้นซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้าง ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับโครงการก่อสร้างที่ต้องหยุดชะงักเนื่องจากการขาดวัสดุ รวมทั้งการเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งจากไทยและต่างประเทศ

สำหรับฝั่งผู้บริโภค เช่นเดียวกันกับผู้บริโภคในหมวดหมู่ยานยนต์ที่ผู้บริโภคไทยเริ่มที่จะลดการใช้เงินและมีการวางแผนที่จะประหยัดเงินมากขึ้น และจากสถานการณ์ Lockdown ในขณะนี้ทำให้การเข้าถึงตัวแทนการขายเป็นไปได้ยากขึ้น แต่ทั้งนี้แบรนด์สามารถที่จะประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลแทนการโฆษณาแบบปกติ เช่น การใช้ Search Engine Marketing เพื่อเข้าถึงผู้ที่มีความต้องการซื้อโดยตรง และต่อเนื่องด้วยการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการขายผ่านทาง VDO Conference หรือ Short Video เพื่อให้คำแนะนำและพาชมสถานที่ในแบบ Virtual Reality แทนการไปชมสถานที่จริงคือช่องทางที่จะสามารถกระตุ้นยอดขาย

หมวดหมู่การท่องเที่ยวและบริการ

การเข้ามาของไวรัสโคโรน่าได้ทำลายสถิติอุปสงค์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวในและต่างประเทศ ไปจนถึงนโยบายขององค์กรต่าง ๆ ที่ให้พนักงานงดการเดินทางไปต่างประเทศและต่างจังหวัดโดยไม่จำเป็น

ในสถานการณ์นี้แบรนด์จะต้องรักษาความน่าเชื่อถือและพร้อมรับฟังเสียงจากผู้บริโภคให้มากที่สุดและอย่างใจเย็นที่สุด เนื่องจากสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงเช่นนี้ส่วนมากจะมาพร้อมกับอารมรณ์ของผู้บริโภคและสามารถนำมาซึ่งกระแสดราม่าในทางลบให้กับแบรนด์ได้

ดังนั้นในทุกการสื่อสารที่ออกจากแบรนด์จะต้องมาพร้อมกับความโปร่งใส และความพร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและด้วยความจริงใจ ทั้งนี้แบรนด์สามารถปรับกลยุทธ์จากการใช้การสื่อสารเพื่อการตลาดไปเป็นการสื่อสารเพื่อองค์กรแทน และท่ามกลางสถานการณ์ระบาดของไวรัสที่ยังคงมีอยู่ในตอนนี้ การสร้างความมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibilities และ Corporate Social Contributions) ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับแบรนด์

หมวดหมู่สินค้าความงามและแฟชั่น

การ Lockdown มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภค การปิดร้านค้าต่าง ๆ รวมถึงการที่ผู้บริโภคไม่สามารถที่จะออกไปใช้พฤติกรรมการใช้ชีวิตได้ในแบบปกติด เช่น การชอปปิง หรือการออกไปเสริมความงาม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อกลุ่มผู้หญิงและผู้ที่ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ จริงอยู่ที่ว่าการใช้สินค้าในหมวดหมู่นี้อาจจะน้อยลง

แต่จากข้อมูลที่สำรวจมายังพบว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังคงมีความกังวลต่อภาพลักษณ์โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการประชุมผ่านระบบดิจิทัลจากที่บ้าน ถ้าไม่ได้มีการแต่งหน้าหรือแต่งตัวผู้บริโภคกลุ่มนี้จะไม่ยอมเปิดเผยใบหน้าที่แท้จริงผ่านวิดีโอคอลเลยเด็ดขาด ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีการทำงานจากที่บ้านก็ตามจะพบว่าผู้บริโภคยังคงมีความต้องการที่การแต่งหน้าและแต่งตัว ทั้งนี้เพื่อเป็นการคลายความเครียดและสามารถที่จะถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดีย

นอกจากนี้เรายังพบอีกว่าการอยู่บ้านส่งผลถึงพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับความงามและแฟชั่นที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากตลอดทั้งวัน ดังนั้นเมื่อพอว่าผู้บริโภคมีทั้งความต้องการในสินค้าและมีเวลาให้กับสื่อประเภทต่างๆ มากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่นักการตลาดไม่ควรปล่อยผ่านในการสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ผ่านทั้งออนไลน์ร่วมกับออฟไลน์ โดยเฉพาะการใช้สื่อโทรทัศน์ผ่านรายการประเภทข่าวและรายการบันเทิง

นักการตลาดยังสามารถใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ การค้นหาข้อมูลออนไลน์ และโปรโมชั่นเพื่อสร้างโอกาสในเพิ่มยอดขาย และสามารถใช้โอกาสสร้างแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นในช่วง Lockdown ผ่านคอนเทนต์หรือการใช้กลยุทธ์สร้างแรงบันดาลใจผ่าน KOL ในช่วงทำงานที่บ้าน

เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคมีการลดลงการโปรโมทสินค้าที่เป็นแบบซองในร้านสะดวกซื้อต่างๆ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสสำหรับแบรนด์อีกด้วย

หมวดหมู่สินค้าอุปโภคบริโภค

การประกาศภาวะฉุกเฉินไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสินค้าในกลุ่มนี้มากนักเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนและอาหารถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค

ดังนั้นแบรนด์จึงต้องรักษาระดับการสื่อสารต่อผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และสร้างความความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่าจะไม่เกิดการขาดแคลนสินค้าผ่านการใช้สื่อดิจิทัลร่วมกับสื่อโทรทัศน์

ในช่วงที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสะอาดเป็นพิเศษแบรนด์ยังสามารถเสริมเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างถูกสุขลักษณะ อีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ให้ผู้บริโภคได้เพลิดเพลินกับการใช้ชีวิตที่บ้านก็คือการสร้างแรงบันดาลใจในบ้านผ่านการทำอาหารหรือการทำความสะอาดบ้าน

นอกจากการนี้การสร้างเครื่อข่ายหรือพันธมิตรกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและธุรกิจการขนส่งให้ทั่วถึงก็นับเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ด้วยเช่นกัน

หมวดหมู่ธุรกิจร้านอาหาร

นับเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ต้องส่งเสริมการให้บริการผ่านการซื้อและบริการจัดส่งถึงบ้านแทนการรับประทานในร้านตามปกติ ซึ่งสำหรับมุมในเรื่องการจัดส่งถึงบ้าน ร้านอาหารที่อยู่ในหมวด QSR จะมีข้อได้เปรียบด้านประสบการณ์มากกว่าร้านอาหารทั่วไป
 
ทั้งนี้ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำการรักษามาตรฐานต่าง ๆ ทั้งการจัดส่ง ด้านคุณภาพ ด้านเวลา ด้านศูนย์บริการข้อมูลแก่ผู้บริโภค และด้านสุขอนามัยและความสะอาดซึ่งถือเป็นหัวใจของธุรกิจร้านอาหารในช่วยเวลานี้ การร่วมมือกับแพลตฟอร์มการสั่งอาหารออนไลน์สามารถเพิ่มพื้นที่การให้บริการในการเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้นอีกด้วย
 
แบรนด์จะต้องไม่ลืมเรื่องของการสร้างการจดจำ และรักษาการรับรู้ของผู้บริโภคผ่านการใช้สื่อโทรทัศน์และ Search Engine Marketing เพราะช่วงเวลานี้ผู้บริโภคจะทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้นกว่าสถานการณ์ปกติ
 
สำหรับร้านอาหารปกติสามารถนำเสนอโปรโมชั่นและส่วนลดพิเศษ เพื่อเป็นการดึงผู้บริโภคให้เกิดการกลับมาที่ร้านเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติได้อีกด้วย
 
หมวดหมู่ธนาคารและสินค้าเทคโนโลยี

ภาวะฉุกเฉินถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินทางของผู้บริโภค แต่เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้บริการและซื้อสินค้าทั้งหมดผ่านทางสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย แบรนด์สามารถยกกลยุทธ์การให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลมาเป็นจุดขาย เพื่อสร้างประสบการณ์ความสะดวกสบายของระบบดิจิทัลแทนการใช้เงินสด โดยที่แบรนด์ต้องพัฒนาแพลตฟอร์มการใช้งานผ่านระบบดิจิทัลให้ง่ายต่อผู้บริโภคให้มากที่สุด

นอกจากนี้แบรนด์ยังควรที่จะเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงการให้บริการแบบตัวต่อตัวอย่าง Call Centre หรือ VDO Conference เมื่อลูกค้ามีปัญหาหรือมีความต้องการพิเศษ
 
สำหรับแบรนด์สินค้าประเภทเทคโนโลยี ควรจับมือกับการแฟลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชและบรรดาผู้ให้บริการการขนส่งเพื่อสร้างการเข้าถึงผู้บริโภค

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ) ได้ที่ https://bit.ly/2V4MddW หรือสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) และบริษัทในเครือฯ

ติดตามข่าวรถยนต์ ราคารถยนต์ รีวิวรถยนต์ และจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อ กับเรา Autospinn
แชร์ความคิดเห็นบนเว็บบอร์ด Autospinn คลิกเลย webboard.autospinn.com  
เช็คโปรโมชั่นรถใหม่ เช็คราคารถใหม่ ได้ที่นี่ 
ราคารถมือสอง ซื้อรถมือสอง ขายรถมือสอง เชิญได้เลยที่ one2car


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ