นั่งโดยสารวินมอไซค์ แล้วรถล้ม เรียกร้องค่าเสียหายจากใคร ? Share this

นั่งโดยสารวินมอไซค์ แล้วรถล้ม เรียกร้องค่าเสียหายจากใคร ?

Champ Autospinn
โพสต์เมื่อ 11 November 2565

การโดยสารรถจักรยานต์ยนต์รับจ้าง หรือวินมอเตอร์ไซค์ แม้เราจะระมัดระวังตัวแค่ไหนก็ตาม แต่ขึ้นชื่อว่า อุบัติเหตุ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา


การเดินทางด้วยมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นิยม โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งรีบ การจราจรติดขัด เพราะสามารถขับซอกแซกและเร่งความเร็วให้เราไปถึงที่หมายได้ทันเวลา แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ผู้โดยสารสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากวินมอเตอร์ไซค์ได้ โดยใช้ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ของรถที่คุณนั่งซ้อนมานั่นเอง ซึ่ง พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ ให้ความคุ้มครอง ดังนี้

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์

ผู้ประสบภัย สามารถเบิกใช้สิทธิ์จาก พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยใช้เอกสาร พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ของวินมอเตอร์ไซค์คันที่เรานั่งซ้อนมา เพื่อใช้ในการเคลม พ.ร.บ. โดยจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น

ค่าเสียหายเบื้องต้น

  • กรณีบาดเจ็บ เบิกจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ) จำนวน 35,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต เบิกจ่ายเป็นค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาทต่อคน
  • กรณีได้รับบาดเจ็บและสูญเสียอวัยวะ หรือ เสียชีวิตในภายหลัง สามารถเบิกจ่ายได้ไม่เกินคนละ 65,000 บาท

กรณีเกิดอุบัติเหตุ พิสูจน์แล้วว่าทางฝั่งรถเราเป็นฝ่ายถูก

เมื่อพิสูจน์แล้วว่าอุบัติเหตุในครั้งนี้ทางฝั่งรถเราเป็นฝ่ายถูก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมซึ่งครอบคลุมตัวผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลตามค่าใช้จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 80,000 บาท
  • หากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ จะได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท
  • หากสูญเสียอวัยวะ จะแบ่งออกเป็น
  1. นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท
  2. สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท
  3. สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท
  • หากต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยใน จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

กรณีเกิดอุบัติเหตุ พิสูจน์แล้วว่าทางฝั่งเราเป็นฝ่ายผิด

สำหรับกรณีที่เกิดอุบัติเหตุซึ่งมีการพิสูจน์ทราบแล้วว่าทางฝั่งรถเราเป็นฝ่ายผิด หากเกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่ผิดจะได้รับความคุ้มครองแค่ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนฝ่ายที่ถูกจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น และได้รับเงินสินไหมทดแทนเพิ่มเติม

ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยจะเป็นผู้เบิก พ.ร.บ.ด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่น หรือให้โรงพยาบาลตั้งเบิกกับบริษัทประกันภัยก็ได้ ซึ่งปัจจุบัน ทุกโรงพยาบาลจะเป็นผู้รับมอบอำนาจเบิกแทนผู้ประสบภัย และหากกรณีได้รับบาดเจ็บสาหัส และมีค่ารักษาเกินกว่า 30,000 บาท จะสามารถเบิกใช้สิทธิ์ได้จากวงเงิน ค่าเสียหายเบื้องต้นไปก่อน 30,000 บาท ส่วนเกินที่เหลือ ผู้ประสบภัยหรือทายาท สามารถตัดสินใจเบิกส่วนเกินดังกล่าวเพิ่มเติมได้จาก

  • สิทธิ์บัตรทอง 30 บาท (ถ้ามี)
  • สิทธิ์ประกันสังคม (ถ้ามี)
  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (ถ้ามี)
  • ประกันรถจักรยานยนต์ ของวินมอเตอร์ไซค์ (ถ้ามี)

เอกสารเบิก พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์

  • สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ของผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรม)
  • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์)
  • สำเนาทะเบียนรถ (ถ้ามี)
  • เอกสาร พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ของรถคันที่ประสบเหตุ
  • บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
  • ใบรับรองแพทย์
  • ใบมรณบัตร (กรณีเสียชีวิต)
  • หนังสือรับรองคนพิการ (กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพ)

สำหรับ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ นั้นให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยในทุกกรณี ไม่ว่าวินมอเตอร์ไซค์คันที่นั่งมาจะไม่มีใบขับขี่ ทะเบียนรถหมดอายุ หรือว่าเมาแล้วขับก็ตาม

ข้อมูลจาก : masii.co.th

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปกับ Autospinn

ค้นหารถมือสองทุกรุ่น ทุกแบบ ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน ดูรายละเอียด และราคารถมือสองได้ที่ ตลาดรถมือสอง One2car


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ