9 + 3 เส้นทางวิกฤตจราจรกรุงเทพ และปริมณฑล Share this

9 + 3 เส้นทางวิกฤตจราจรกรุงเทพ และปริมณฑล

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 04 January 2562

ในการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกล่าสุด เห็นชอบแผนลงทุนก่อสร้างทางข้ามจุดตัดบนทางด่วน วงเงินประมาณกว่า  1,000 ล้านบาท แก้ปัญหารถติดในพื้นที่กทม. และปริมณฑล


 

เมื่อเร็วๆนี้ ในการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)  ทางสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เสนอรายงานความคืบหน้าแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองหลวงให้ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ทราบ ก่อนเสนอไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยได้มีการสรุปเส้นทางรถติดจำนวน 9 เส้นทาง ได้แก่

1. วงแหวนรัชดาภิเษก

2. มอเตอร์เวย์สาย 7 - ทางด่วนพิเศษศรีรัช

3. ถนนประเสริฐมนูกิจ-งามวงวานศ์

4. สะพานตากสิน ช่วงราชพฤกษ์-กัลปพฤกษ์

5. ทางด่วนขั้นที่ 1 ช่วงต่างระดับอาจณรงค์

6. ทางด่วนขั้นที่ 1 ช่วงสะพานพระราม 9 -พระราม 2

7. สะพานคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี-สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

8. ทางด่วนฉลองรัช-ลำลูกกา

9. ถนนราชพฤกษ์ ช่วงชัยพฤกษ์-รัตนาธิเบศร์

นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางที่เกิดปัญหาจราจรต่อเนื่องในอีก 3 เส้นทาง ตามแนวงานก่อสร้างรถไฟฟ้า ได้แก่

10.ถนนติวานนท์-แจ้งวัฒนะ-รามอินทรา

11.ถนนรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว-ศรีนครินทร์-เทพารักษ์

12.ถนนพระราม 9 – รามคำแหง

ทางสนข.ได้มีการแนวทางเสนอให้ลงทุนก่อสร้างทางข้ามจุดตัดบนทางด่วนในเส้นทางรถติดที่กำหนดคล้ายกับสะพานข้ามแยก คาดว่าจะใช้วงเงินลงทุนประมาณมากกว่า 1,000 ล้านบาท ในการก่อสร้างทางยกระดับข้ามจุดปัญหา ควบคู่ไปกับการหาแนวทางระบายการจราจรพื้นราบบริเวณจุดขึ้น-ลงทางด่วนที่สำคัญ

สำหรับหลักการสำคัญของแผนดังกล่าวคือการแก้ปัญหารถติดครอบคลุมถึงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดผ่านถนนตามแยกต่างๆ ที่มีปัญหาการจราจรติดขัด และการจัดหาพื้นที่จอดรถของประชาชนที่มาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะรวมถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยบริหารจราจร

อย่างไรก็ตาม เพื่อการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกทม. และปริมณฑล อย่างถาวร ทางสนข.ได้เสนอให้ดำเนินการแผนแม่บทการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ ในเขตกทม. และปริมณฑล (Intelligent Transport System : ITS) ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบฯ และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ มีกรอบแนวคิดโดยมุ่งเน้นให้ประเทศไทยพัฒนาการจราจรและขนส่งให้มีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ มาผนวกเข้ากับโครงสร้างพื้นฐาน และยานพาหนะ ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การพัฒนาระบบ ITS ในเขตพื้นที่เมืองต่างๆ จึงควรนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาผนวกกับโครงสร้างพื้นฐานและยานพาหนะภายในเมือง ซึ่งในพื้นที่กทม.และปริมณฑลควรพัฒนาให้เป็น Smart Metropolis หรือ นครหลวงอัจฉริยะ ส่วนในระดับเมืองต่างๆ จะนำไปสู่การเป็น Smart City เช่นเดียวกัน

ประกอบด้วย 3 เป้าประสงค์หลัก คือ 1) ITS for Green Mobility  จากปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหามลภาวะภายในเมือง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนพื้นที่รองรับปริมาณจราจรเนื่องจากการก่อสร้าง ทำให้นำมาสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ การลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และการส่งเสริมให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ 2) ITS Integrated Center  จากปัญหาในการดำเนินการด้าน ITS ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการจัดตั้งหน่วยงานที่เข้ามาบูรณาการในการดำเนินงานภายในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจากกรอบแผนการพัฒนาระบบ ITS ของประเทศ จะมีการตั้งศูนย์บูรณาการ ITS  ภายในแต่ละพื้นที่ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการข้อมูลด้านจราจรและขนส่ง ควบคุมและจัดการจราจร และตรวจสอบการกระทำผิดกฎจราจร ซึ่งการดำเนินการของศูนย์ฯ จะเป็นหน่วยงานกลางการแก้ไขปัญหาภายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อย่างบูรณาการ และ 3)  ITS  Assistive Solution เป็นการนำระบบ ITS มาแก้ไขปัญหาด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญในปัจจุบัน ในพื้นที่กทม.และปริมณฑล

เช็คราคารถใหม่ และโปรโมชั่น ได้ที่นี่ ที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสอง ตรวจสอบราคารถยนต์มือสอง เชิญที่นี่
มาร่วมแชร์ความเห็นของคุณบนเวบบอร์ด Autospinn คลิกที่นี่


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ