[PR News] ทำความรู้จัก BRAND SAFETY PLAYBOOK คู่มือและคำแนะนำ สำหรับนักการตลาดบนความปลอดภัยของแบรนด์โดย กรุ๊ปเอ็ม Share this

[PR News] ทำความรู้จัก BRAND SAFETY PLAYBOOK คู่มือและคำแนะนำ สำหรับนักการตลาดบนความปลอดภัยของแบรนด์โดย กรุ๊ปเอ็ม

Tadsaneeya
โดย Tadsaneeya
โพสต์เมื่อ 19 June 2563

กรุ๊ปเอ็ม (GroupM) กลุ่มเอเยนซี่ผู้นำการลงทุนด้านสื่อของ ดับบลิวพีพี (WPP) นำเสนอรายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับอนาคตของความปลอดภัยของแบรนด์ หรือ Brand Safety ผ่านปัจจัยการวิเคราะห์ทั้งด้านเศรฐกิจโลก นโยบายจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโฆษณาทั่วโลก


รายงาน Brand Safety Playbook จาก กรุ๊ปเอ็ม ได้เผยถึงแนวทางของความปลอดภัยของแบรนด์และความสามารถในพัฒนาไปสู่อนาคตผ่านบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของแบรนด์ในระดับสูง ทั้งทางด้านนโยบาย สังคมและเทคโนโลยี พร้อมกันนี้ได้นำเสนอถึงความท้าทายที่สำคัญสำหรับ 5 หมวดหมู่ของสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ สมาร์ททีวี (Connected TV) สื่อนอกบ้านระบบดิจิทัล (Digital Out-of-Home) ข้อมูลของตำแหน่ง (Location Data) และเกมและระบบเสียง (Audio and Gaming)

คุณจอห์น มอนต์โกเมอรี่ รองประธานกรรมการทางด้านความปลอดภัยของแบรนด์จาก กรุ๊ปเอ็ม ได้กล่าวว่า “ในช่วงครึ่งปีแรกได้เกิดเหตุการณ์ที่หลากหลาย เช่น ในสหรัฐฯ ได้เริ่มมีการบังคับใช้งานของรัฐบัญญัติความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคในรัฐแคลิฟอร์เนีย หรือ CCPA การเริ่มต้นของการรณรงค์หาเสียงในแคมเปญการเลือกตั้งประธานาธิบดี การเพิ่มความสนใจในข่าวปลอมและข่าวสารต่าง ๆ เช่นเรื่องการระบาดของไวรัสทั่วโลก และการประท้วงที่เกี่ยวข้องกับความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติเมื่อเร็ว ๆ นี้” 

ทั้งนี้ คุณจอห์น ได้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า “เหตุการณ์เหล่านี้นับเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นครั้งแรกในอุตสาหกรรมธุรกิจการสื่อสาร อีกทั้งยังเป็นความท้าทายต่อในการวางแผนกลยุทธ์สื่อให้แบรนด์ของเราได้รับความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง” “ในขณะที่ผู้บริโภคยังคงปรับตัวรับข่าวสารผ่านวิธีใหม่ ๆ บนโลกออนไลน์อยู่ตลอดเวลา เป็นหน้าที่เราที่จะดำเนินการพัฒนาวิธีการสร้างและวางเนื้อหาที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือเพื่อลูกค้าและพันธมิตรของเรา”

หัวข้อหลักในรายงาน Brand Safety Playbook ประกอบไปด้วย

  1. Policy Shifts – การเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบายของประเทศต่าง ๆ เช่น กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในเขตสหภาพยุโรป (GDPR) และรัฐบัญญัติความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคในรัฐแคลิฟอร์เนีย (CCPA) ที่ส่งผลกระทบให้นักการตลาดและตัวอุตสหกรรมต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บ การใช้และการวัดผล ส่งผลให้อุตสาหกรรมต้องมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่จะทำการจัดการกับข้อมูลในรูปแบบที่ดีกว่าเดิม
  2. COVID-19 Pandemic – สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 ทำให้เกิดปรากฏการณ์ ‘New Normal’ ที่การใช้สื่อดิจิทัลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของประชาคมโลก โดยพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับข่าว เกม และคอนเทนต์สตรีมมิ่งมากขึ้น ซึ่งข่าวต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ยังมีประเด็นในเรื่องของความน่าเชื่อถืออยู่ ดังนั้นนักการตลาดต้องลุกขึ้นและเตรียมความพร้อมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค พร้อมกันนี้ยังต้องและหาโอกาสที่จะพัฒนาแนวทางเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับแบรนด์ อีกด้วย 
  3. Fake News and technologies – บนความหลากหลายของเทคโนโลยีที่มีต่อการนำเสนอข่าวทำให้เกิดโอกาสที่ผู้บริโภคที่จะได้รับข่าวปลอมมากขึ้น แบรนด์จะต้องมั่นใจว่าการลงโฆษณาจะต้องอยู่บนเนื้อหาและข่าวที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดที่จะส่งผลกระทบในความน่าเชื่อถือของแบรนด์ 
  4. Connected TV – สมาร์ททีวีสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่เรื่องของการเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อถึงระบบวิดีโอสตรีมมิ่ง หรือแม้กระทั่งการเล่นเกม ทำให้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการลงทุนในด้านการวางแผนสื่อโฆษณาบนแพลทฟอร์มที่เข้าถึงสมาร์ททีวีเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้มีความหลากหลาย นักโฆษณาและการตลาดจึงจำเป็นต้องหาระบบวัดค่าที่มีความโปร่งใสและเป็นมาตรฐาน
  5. Digital Out-Of-Home – การเติมโตของสื่อโฆษณานอกบ้านดิจิทัลทำให้มีการพัฒนาให้มีความสามารถขั้นสูงและซับซ้อนมากขึ้นด้วยระบบการซื้อโฆษณาทำได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพ ทำให้แบรนด์สามารถกำหนดเป้าหมายที่ละเอียดขึ้นและจัดการปัญหาในการวัดผลได้ดีกว่าเดิม
  6. Gaming – ออนไลน์เกมเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค โดยที่อีสปอร์ตคือสิ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทั้งนี้แบรนด์ต้องคำนึงถึง รูปแบบและลักษณะของเกมให้เข้ากับเนื้อหาที่แบรนด์ต้องการสื่อออกไป แบรนด์จะต้องระมัดระวังในเรื่องของการใช้ภาษา ความรุนแรง
  7. คุณคริสเตียน จูเอาว์ ในฐานะประฐานกรรมการบริหารของ กรุ๊ปเอ็ม ได้กล่าวว่า “ผู้บริโภคและแบรนด์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงสื่อในรูปแบบใหม่และน่าสนใจ” “ในขณะที่พฤติกรรมและความชอบนั้นเปลี่ยนไปตามปัจจัยทางสังคม โดย กรุ๊ปเอ็ม และเอเยนซี่ในเครือทั้ง มายด์แชร์ มีเดียคอม และเวฟเมคเกอร์ ต่างยึดมั่นในคำสัญญาที่จะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุตสาหรกรรมในด้านการรักษาความปลอดภัยของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ผ่านพันธมิตรสื่อ” 

ในอดีตประเด็นด้านความปลอดภัยของแบรนด์ในการทำโฆษณาออนไลน์จะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่เป็นระบบโปรแกรมเมติกและโซเชียล แต่ในทุกวันนี้สื่อประเภทต่าง ๆ  ได้ผันตัวเองมาอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลรวมทั้งมีการพัฒนาและปรับปรุงระบบการปฎิบัติการใหม่ ๆ โดยปัจจัยเหล่านี้เองได้สร้างความท้าทายอย่างต่อเนื่องสำหรับการวางแผนและใช้สื่อทุกประเภทบนมาตรฐานความปลอดภัยของแบรนด์ให้กับนักโฆษณาและการตลาด

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถอ่าน Brand Safety Playbook ฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3flemWV

ติดตามข่าวรถยนต์ ราคารถยนต์ รีวิวรถยนต์ และจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อ กับเรา Autospinn
แชร์ความคิดเห็นบนเว็บบอร์ด Autospinn คลิกเลย webboard.autospinn.com  
เช็คโปรโมชั่นรถใหม่ เช็คราคารถใหม่ ได้ที่นี่ 
ราคารถมือสอง ซื้อรถมือสอง ขายรถมือสอง เชิญได้เลยที่ one2car


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ