ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2567 ทำยังไง ต่อที่ไหนได้บ้าง Share this
Lifestyle
โหมดการอ่าน

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2567 ทำยังไง ต่อที่ไหนได้บ้าง

Nunthapong Laongwan
โดย Nunthapong Laongwan
โพสต์เมื่อ 09 December 2565

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร ทำไมต้องต่อทุกปี เมื่อต่อแล้วจะได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง พร้อมเผยรายละเอียดการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2567 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง พร้อมเผยค่าใช้จ่ายและอื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งวันนี้ Autospinn มีคำตอบมาฝากกัน

ซื้อรถมือสองกับ CARSOME การันตีคุณภาพรถยนต์ ผ่านการตรวจสภาพ 175 จุด พร้อมรับประกันสูงสุด 2 ปีเต็ม ราคาโปร่งใส คุ้มค่า ซื้อไปแล้วไม่พอใจ การันตีคืนเงินเต็มจำนวนภายใน 30 วัน

พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร 

พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ "ประกัน พ.ร.บ." เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ว่า ให้เจ้าของรถที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือผู้ครอบครองรถ ในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อรถ และต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี ที่สำคัญ นอกจากเป็นประกันภาคบังคับที่ผู้ใช้รถต้องทำอยู่แล้ว พ.ร.บ.รถยนต์ นับเป็นหนึ่งในหลักฐานชิ้นสำคัญที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี หากไม่ทำถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย

ทำไมต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประจำทุกปี

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากต้องการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยไม่สนว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นมา ผู้เสียหายจะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั่นเอง

นอกจากรถยนต์ที่ต้องทำและต่ออายุประกัน พ.ร.บ.ทุกปี ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก ต่างก็ต้องทำ พ.ร.บ. ด้วยด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับ จะเป็นอัตราเบี้ยคงที่ ไม่มีการเพิ่ม แต่ราคาจะแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของรถ

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง

การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ต้องเตรียมเอกสารที่จำเป็น ซึ่งประกอบด้วย

1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สมุดทะเบียนรถ (หรือสำเนาก็ได้)
 

ขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ (แบบออนไลน์) ทำยังไง

การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ในปัจจุบันทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะระบบออนไลน์ ซึ่งการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ เพียงคุณมีสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย และใช้เวลากรอกข้อมูลต่างๆ ให้ครบถ้วนโดยใช้เวลาประมาณ 15 นาที โดยขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ มีวิธีการดังนี้

1. เข้าสู่เว็บไซต์ของ กรมการขนส่งทางบก e-Service หากเคยลงทะเบียนแล้วให้กด เข้าสู่ระบบ โดยกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และรหัสผ่าน


2. หากยังไม่เคยลงทะเบียน ให้คลิก ลงทะเบียนสมาชิกใหม่ จากนั้นกรอกข้อมูลที่สำคัญให้ครบถ้วน ทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสารด้วย จากนั้นก็ใช้เลขประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ 
3. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วให้ดูที่หัวข้อบริการ จากนั้นให้กด ชำระภาษีรถประจำปี => ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
4. เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้าค้นหาข้อมูลการลงทะเบียนรถ จะมีข้อมูล 3 ช่องให้กรอกลงไป คือ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ เมื่อกรอกครบถ้วนแล้วให้กด บันทึก จากนั้นจะมีรายการข้อมูลลงทะเบียนรถปรากฏด้านล่าง คลิกช่องสี่เหลี่ยมด้านหน้ารายการแล้วกด "ชำระภาษี"


5. เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้าข้อมูลการยื่นชำระภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฎ ได้แก่ รายละเอียดรถ ข้อมูล พ.ร.บ. และรายการที่ต้องชำระ สำหรับการต่อพรบรถจักรยานยนต์ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อ ข้อข้อมูล พ.ร.บ. คลิกที่ช่อง ไม่มี (ซื้อผ่านระบบ) หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่


6. หลังจากนั้นก็กรอกข้อมูลข้างล่างช่องซื้อ พ.ร.บ. เพิ่ม ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยและรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน
7. คลิก เลือกวิธีชำระเงิน สามารถเลือกวิธีชำระเงินต่าง ๆ ที่มีให้เลือกตามสะดวก เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะได้รับใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้นก็รอรับ พ.ร.บ. รถยนต์ตามที่อยู่ที่กรอกข้อมูลได้เลย

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2567 กี่บาท

รถยนต์โดยสาร
รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถเก๋ง) 600 บาท
รถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) 1,100 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท

รถกระบะ / รถบรรทุก
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) 900 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท

รถยนต์ประเภทอื่น ๆ
หัวรถลากจูง 2,370 บาท
รถพ่วง 600 บาท
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 90 บาท

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถทำได้สะดวกทุกที่ สามารถทำได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์

  • กรณีออนไลน์ สามารถเข้าไปต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ได้ที่ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก e-Service หรือเว็บไซต์ตัวแทนประกันภัยชั้นนำ
  • กรณีออฟไลน์ คุณสามารถเดินทางไปต่อ พ.ร.บ. ได้ที่ สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ ที่ทำการไปรษณีย์ ห้างสรรพสินค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และเคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น-อีเลฟเว่น

พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

ในประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายกับบุคคลที่ประสบเหตุเท่านั้น แต่ไม่ได้คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์หรือกรณีรถของผู้เอาประกันสูญหาย แต่ผู้เอาประกันสามารถซื้อประกันแบบสมัครใจเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ 

1. คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลผู้อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ค่าเสียหายในกรณีทุพพลภาพ และเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

ทั้งนี้ บริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องขอให้บริษัทชดเชยในความเสียหายจากผู้ประสบภัย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท/คน

2. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน เป็นค่าเสียหายหลังจากที่พิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามมูลรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • กรณีได้รับบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง (มีหลักฐานการชำระเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น) แต่ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร  ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าทดแทน เป็นจำนวนเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 - 500,000 บาท/คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดที่สูญเสียอวัยวะและเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนด
  • กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน

หากมีกรณีที่เข้ารับการรักษาในฐานะ “ผู้ป่วยใน” ภายในสถานพยาบาล ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน

ไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ไหม

การทำประกันภัย พ.ร.บ. คือ การประกันภัยภาคบังคับซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถทุกคันจะต้องทำ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และทำให้คุณไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ประจำปีได้ และจะส่งผลให้ป้ายทะเบียนขาดต่ออายุร่วมด้วย

พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุต้องทำอย่างไร

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ มีอายุ 1 ปี และจะต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เมื่อหมดอายุ มิฉะนั้น อาจถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่ง พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ขาดต่ออายุเป็นเวลานาน 3 ปี จะทำให้เลขทะเบียนรถของคุณถูกระงับด้วย ดังนั้น คุณจะต้องไปจดทะเบียนรถใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก อีกทั้งต้องยื่นชำระภาษีรถคงค้างย้อนหลังด้วยค่าปรับในอัตรา 1% ต่อปี จึงจะสามารถขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์แล้วไม่ทำประกันรถได้ไหม

หากต่อ พ.ร.บ. รถยนต์แล้วไม่ทำประกันได้หรือไม่ ขอตอบว่าได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งยังไม่ผิดกฎหมาย และไม่มีใครสามารถบังคับได้ครับ เพราะที่กฎหมายบังคับมีเพียงการต่อ พ.ร.บ. (ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ) และการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีเท่านั้น

ต่อภาษีรถยนต์ กับ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ต่างกันอย่างไร ?

อีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนมักเข้าใจผิดและไม่รู้กัน คือ ป้ายภาษีรถ (ป้ายสี่เหลี่ยม มีตัวเลขปีเด่นชัด) กับ พ.ร.บ. คนละอย่างกัน ซึ่งจะขออธิบายให้ชัดเจนว่า พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายระบุให้เจ้าของรถทุกคันทำ พ.ร.บ. เพื่อให้ความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน รวมถึงให้เงินชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ

ส่วนป้ายภาษีหรือป้ายวงกลมจะเป็นสติกเกอร์ที่ติดบนกระจกรถยนต์ เป็นหลักฐานให้รู้ว่า เราเสียภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้วนะ หากใครที่ขาดต่อภาษีจะเสียค่าปรับตามที่กำหนด แต่ทั้งนี้ แอดมินขอแจ้งให้ทราบอย่างชัดเจนว่า ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. ก็จะต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้

ซื้อรถมือสอง มั่นใจ ได้มาตรฐาน ต้อง CARSOME

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปกับ Autospinn

ค้นหารถมือสองทุกรุ่น ทุกแบบ ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน ดูรายละเอียด และราคารถมือสองได้ที่ ตลาดรถมือสอง One2car


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ