เช็กด่วน!! ขนส่งฯ เชื่อมข้อมูลตำรวจ ค้างจ่ายใบสั่ง ไม่เสียค่าปรับ ไม่ได้ป้ายภาษี เริ่ม 1 เม.ย.66 Share this

เช็กด่วน!! ขนส่งฯ เชื่อมข้อมูลตำรวจ ค้างจ่ายใบสั่ง ไม่เสียค่าปรับ ไม่ได้ป้ายภาษี เริ่ม 1 เม.ย.66

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 08 February 2566

ขนส่งเชื่อมโยงข้อมูลกับตำรวจ ระบุตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้เป็นต้นไป หากโดนใบสั่ง ไม่เสียค่าปรับจะไม่ได้รับป้ายภาษีประจำปี ไม่ชำระตามกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทแถมโดนตัดแต้ม 1 คะแนน หากต่อทะเบียนแต่ไม่ยอมเสียค่าปรับขนส่งจะยอมให้หลักฐานชั่วคราวแทนป้ายภาษีอายุ 30 วัน เพื่อให้จ่ายค่าปรับที่คงค้างก่อน แล้วถึงรับป้ายภาษีจริงได้


เช็กด่วน!! ขนส่งฯ เชื่อมข้อมูลตำรวจ ค้างจ่ายใบสั่ง ไม่เสียค่าปรับ ไม่ได้ป้ายภาษี เริ่ม 1 เม.ย.66

กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แถลงถึงการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการจราจรทางบก  เพื่อลดการกระทำผิดกฎหมาย ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยบังคับใช้มาตรการตามที่กำหนดในกฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  

สาระเรื่องรถ ความรู้เรื่องรถ ออโต้สปินน์

ดังนั้น ทั้ง 2 หน่วยงาน จึงได้ร่วมกันกำหนดมาตรการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ประกอบด้วย  

  1. การตัดคะแนนความประพฤติ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปตั้งแต่ 9 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา  ซึ่งมีผู้กระทำผิดกฎจราจรและถูกตัดคะแนนแล้ว จำนวน 15,456 ราย 
  2. มาตรการชะลอการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี สำหรับรถที่มีใบสั่งค้างชำระตาม 141/1 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานจะต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูลยานพาหนะ และข้อมูลใบสั่งค้างชำระ  เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลได้แบบ Real Time  ทำให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด   

สำหรับ มาตรการชะลอเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี จะใช้กับรถยนต์ที่ที่มีใบสั่งจราจรที่ค้างชำระ  ซึ่งไม่ชำระค่าปรับตามที่กำหนด  โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะส่งข้อมูลโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก  เมื่อประชาชนไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปี  นายทะเบียนจะรับต่อภาษีประจำปี แต่ยังไม่ได้รับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ป้ายภาษี)  โดยจะได้หลักฐานชั่วคราวแทนป้ายภาษี ซึ่งมีอายุ 30 วัน เพื่อให้ผู้นั้นไปชำระค่าปรับที่ค้างชำระให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน  แล้วจึงสามารถมารับป้ายภาษีได้  

แต่หากประชาชนต้องการจะชำระค่าปรับในขณะต่อภาษี  กฎหมายกำหนดให้อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน  ให้นายทะเบียนสามารถรับชำระค่าปรับตามใบสั่งพร้อมกับชำระภาษี และรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีได้เลยทันที

“การขับรถโดยไม่มีป้ายภาษี จะมีโทษตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มาตรา 11  ซึ่งกำหนดว่า รถยนต์คันที่ต่อภาษีแล้วจะต้องแสดงเครื่องหมายตามที่กรมการขนส่งกำหนดให้ครบถ้วน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท  ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลใบสั่งค้างชำระ และคะแนนความประพฤติได้  จากเว็บไซต์ E-ticket PTM  และ แอปพลิเคชั่น ขับดี”
    

กรมการขนส่งเชื่อมข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบกได้ จัดทำ “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับ กรมการขนส่งทางบก” ซึ่งบันทึกข้อตกลงนี้ มีที่มาจากพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 141/1 ที่กำหนดมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย 

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายจราจรและได้รับใบสั่งจากเจ้าพนักงานตำรวจ และไม่ชำระค่าปรับจราจรภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะแจ้งข้อมูลผู้ค้างชำระค่าปรับจราจรให้กรมการขนส่งทางบกเพื่อแจ้งให้เจ้าของรถหรือผู้มาติดต่อในขั้นตอนที่มาขอชำระภาษีประจำปีให้ชำระค่าปรับ ซึ่งบันทึกข้อตกลงร่วมกันจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบกในเรื่องนี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 

บันทึกข้อตกลงสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์กับกรมการขนส่งทางบก และส่งข้อมูลค่าปรับตามใบสั่งจราจรที่ค้างชำระตามมาตรา 141/1   แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มายังกรมการขนส่งทางบก เมื่อเจ้าของรถมาติดต่อชำระภาษีรถประจำปี ณ สำนักงานขนส่ง หากปรากฏว่า มีข้อมูลค่าปรับที่ค้างชำระ เจ้าของรถก็สามารถชำระค่าปรับที่ค้างชำระพร้อมกับชำระภาษีกับนายทะเบียนของกรมการขนส่งทางบก และรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีฉบับจริงได้ทันที 

ค้างจ่าบยใบสั่ง ไม่ได้ป้ายภาษี

ส่วนกรณีที่เจ้าของรถประสงค์จะชำระภาษีรถประจำปี โดยไม่ชำระค่าปรับที่ค้างชำระ เจ้าของรถก็ยังคงสามารถชำระภาษีรถประจำปีได้ตามปกติโดยจะได้รับหลักฐานชั่วคราวแทนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี ซึ่งหลักฐานชั่วคราวดังกล่าวจะมีอายุ 30 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียนออกให้ หากต่อมาเจ้าของรถได้ทำการชำระค่าปรับที่ค้างชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียนของกรมการขนส่งทางบกเรียบร้อยแล้วสามารถนำหลักฐานแสดงการชำระค่าปรับมาแสดงต่อนายทะเบียนของกรมการขนส่งทางบกเพื่อให้ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปีได้ 

และหากเจ้าของรถมีความประสงค์ตรวจสอบข้อมูลค่าปรับที่ค้างชำระหรือจะโต้แย้งข้อมูลค่าปรับที่ค้างชำระสามารถติดต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติผ่านช่องทางที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด ทั้งนี้ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เข้ามาดำเนินการด้านทะเบียนและชำระภาษีรถประจำปี และส่งเสริมมาตรการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การเสริมสร้างวินัยจราจร จิตสำนึกด้านความปลอดภัยซึ่งจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ การเชื่อมโยงข้อมูลใบสั่งค้างชำระของทั้งสองหน่วยงานนั้น จะเริ่มใช้กับใบสั่งจราจรสำหรับการกระทำผิดตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป  โดยไม่มีผลย้อนหลัง  สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบก เชื่อมั่นว่ามาตรการดังกล่าว   จะสามารถนำไปสู่การเสริมสร้างวินัยจราจร จิตสำนึกด้านความปลอดภัยซึ่งจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืนต่อไป
 

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปกับ Autospinn

ค้นหารถมือสองทุกรุ่น ทุกแบบ ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน ดูรายละเอียด และราคารถมือสองได้ที่ ตลาดรถมือสอง One2car


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ