Mazda เปิดแผนพัฒนารถยนต์แห่งอนาคต โชว์ภาษาการออกแบบ KODO ล่าสุด Share this

Mazda เปิดแผนพัฒนารถยนต์แห่งอนาคต โชว์ภาษาการออกแบบ KODO ล่าสุด

Admin
โดย Admin
โพสต์เมื่อ 27 November 2555

มาสด้าเปิดแผนพัฒนารถยนต์แห่งอนาคตสู่ความยิ่งใหญ่ โชว์นวัตกรรมการออกแบบใหม่ล่าสุด KODO ดีไซน์

กรุงเทพฯ – ประเทศไทย, 26 พฤศจิกายน 2555 – มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น เผยนวัตกรรมการออกแบบยานยนต์มาสด้าแห่งอนาคตครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิดการออกแบบ “โคโดะ ดีไซน์” จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว (KODO – Soul of Motion) ถ่ายทอดเส้นสายการออกแบบล่าสุดผ่านยนตรกรรมรถต้นแบบคันแรก “มาสด้า ชินาริ (Mazda SHINARI)” โคโดะ ดีไซน์ ได้รับการยอมรับในระดับโลก และจะถ่ายทอดเอกลักษณ์เฉพาะตัวสู่รถเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ที่กำลังจะเปิดตัวในอนาคต ที่สำคัญด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยอย่าง สกายแอคทีฟ (SKYACTIV) และโคโดะ ดีไซน์ จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์มาสด้าอย่างยั่งยืน และเพื่อบรรลุเป้าหมายการขายระยะกลางของภูมิภาคอาเซียน ที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 150,000 คัน ในอีก 4 ปีข้างหน้า

ภายใต้แนวคิด “ซูม-ซูม” มาสด้าได้พยายามอย่างต่อเนื่องในการนำเทคโนโลยีอันล้ำสมัยล่าสุดมาใช้ในการผลิตรถยนต์ที่รูปลักษณ์สะกดทุกสายตา มีความสนุกเร้าใจในการขับขี่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเต็มเปี่ยมไปด้วยความปลอดภัย ซึ่งมาสด้าได้ผลิตรถยนต์ที่มีความสปอร์ตและหรูหรามาแล้วอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น MX-5, RX-8, มาสด้า2 มาสด้า3 และบีที-50 โปร ซึ่งความเชี่ยวชาญในเรื่องความสปอร์ต สามารถสัมผัสได้จากดีไซน์ของมาสด้าที่โดนใจผู้ชื่นชอบการขับขี่จากทั่วโลก ซึ่งแนวคิดการออกแบบที่สำคัญของมาสด้า สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนจากรถแต่ละรุ่นที่มีเอกลักษณ์ และความโดดเด่นเฉพาะตัวสำหรับตลาดโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย

มร. มาซาฮิโระ โมโร เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ผู้ที่รับผิดชอบดูแลการขายและการตลาดทั่วโลก กล่าวว่า มาสด้าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งสำหรับตลาดในประเทศไทย จากยอดจำหน่ายเมื่อปีที่ผ่านมาสูงถึง 42,000 คัน สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 5.3% ซึ่งส่งผลให้มาสด้า ประเทศไทย ก้าวขึ้นสู่อันดับที่ 6 ของประเทศที่มาสด้ากำลังทำตลาดอยู่ ที่สำคัญในปีนี้เราตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 70,000 คัน และเชื่อว่ายอดขายจริงน่าจะสูงมากกว่านี้ ซึ่งจะทำให้มาสด้า ประเทศไทยก้าวใกล้ไปสู่ลำดับที่สูงขึ้น

เพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งให้ธุรกิจของประเทศไทยนี้ มาสด้าพร้อมเสริมกำลังเต็มที่เพื่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการจัดงาน “MAZDA DESIGN FORUM” ในวันนี้ คือจุดเริ่มต้นของการสร้างมิติใหม่ของมาสด้า ประเทศไทย เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่บริษัทผู้ผลิตและพัฒนารถยนต์ได้เปิดเผยข้อมูลเบื้องหลังของการออกแบบและการพัฒนารถยนต์ ซึ่งไม่เคยถูกเปิดเผยที่ไหนมาก่อน ซึ่งจะช่วยจุดประกายให้บุคลากรในอุตสาหกรรมรถยนต์ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับปรัชญาในการออกแบบ มร. โมโร กล่าวเพิ่มเติม

นอกจากนี้ มาสด้าได้กำหนดแผนพัฒนาธุรกิจระยะกลาง สำหรับตลาดประเทศไทย รวมทั้งอาเซียน ซึ่งการถือกำเนิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) จะยิ่งมีส่วนช่วยทำให้ระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เกิดความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยมาสด้ามีเป้าหมายสูงสุด คือ การเติบโตทางด้านยอดขายในภูมิภาคอาเซียน โดยเราตั้งเป้าหมายอยู่ที่ 150,000 คัน ภายในปี 2559 และแน่นอนตลาดหลักที่สำคัญคือประเทศไทย และสิ่งที่จะทำให้มาสด้าประสบความสำเร็จได้นั่นคือ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับจำนวนรุ่นรถยนต์ที่จำหน่ายในตลาด โดยจะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการและความชอบของลูกค้าให้มากที่สุด มร. โมโร กล่าวเสริม

มร. โมโร กล่าวเสริมว่า “มาสด้ามีแนวทางและจุดยืนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างชัดเจน เราจะไม่ลงไปในสนามที่คนอื่นกำลังเล่นกัน แต่เราจะสร้างความแตกต่างที่โดดเด่นอย่างชัดเจน จากผลิตภัณฑ์ที่เป็นจุดแข็งของเรา โดยเฉพาะวันนี้ เราจะได้สัมผัสกับนวัตกรรมการออกแบบแห่งอนาคตของมาสด้า กับยนตรกรรมต้นแบบ MAZDA SHINARI ที่เป็นหัวใจของการดีไซน์รูปแบบใหม่ โคโดะ – จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว ด้วยการคัดสรรวัสดุอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้มาสด้ามีความแตกต่าง ซึ่งถูกถ่ายทอดไปยังรถยนต์ Mazda CX-5 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่งในตลาดโลก ที่สำคัญกำลังจะเปิดตัวในประเทศไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า”

มร. อิคูโอะ มาเอดะ หัวหน้าทีมออกแบบ กล่าวว่า ปรัชญาการออกแบบรถยนต์ในอนาคตของมาสด้า จะเป็นการสะท้อนถึงพลังและความงดงาม ดังที่มนุษย์ได้เห็นจากการเคลื่อนไหวของสัตว์หรือมนุษย์ อันเป็นรูปแบบของฟอร์มที่ซ่อนอยู่ในสรีระทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว อย่างเช่น ช่วงขณะที่เสือชีตาห์กระโจนเข้าตะครุบเหยื่อ หรือนักดาบ “เคนโด้” ศิลปะการต่อสู้ดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ในช่วงจังหวะที่ดาบถูกฟาดลงมา ช่วงเวลานั้นคือพลังอันมหาศาลจะถูกปลดปล่อยออกมาภายใต้ท่วงท่าที่แข็งแกร่งและมั่นคง เป็นความสมดุลระหว่างพละกำลังกับความงดงามอย่างเป็นธรรมชาติ คือความรู้สึกฉับพลันที่มุ่งมั่นและแน่วแน่ ให้ผู้ที่ได้พบเห็นต่างสัมผัสได้ถึง พลัง รู้สึกได้ถึงความเร็ว และประทับใจกับท่วงท่าอันงดงาม ทั้งหมดที่ผมเอ่ยถึงนี้ล้วนเป็นธรรมชาติที่น่าหลงใหล มาสด้าจึงได้จับเอาความน่าหลงใหลเหล่านี้มาใส่เป็นพลังขับเคลื่อนและเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกเข้าไป จนเกิดเป็นรูปฟอร์มแห่งการเคลื่อนไหว ภายใต้ชื่อ “โคโดะ - จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว” (KODO – Soul of Motion) ที่สำคัญการออกแบบ “โคโดะ” ได้ถูกกำหนดเป็นแนวทางการออกแบบใหม่ทั้งหมดของมาสด้านับจากนี้ไปและในอนาคต เพื่อแสดงออกถึงการเคลื่อนอันทรงพลัง รวดเร็ว และปราดเปรียว ให้เห็นถึงชีวิตหรือจิตวิญญาณที่ซ่อนอยู่ ซึ่งธีมการออกแบบ “โคโดะ” (KODO) คือ ภาษาการออกแบบของมาสด้า ความเคลื่อนไหวอันทรงพลัง

การออกแบบ “โคโดะ” คือ องค์ประกอบของ ความเร็ว พละกำลัง และเสน่ห์

ความเร็ว (SPEED): การขึ้นรูปของรถที่บอกได้ถึงความเร็ว สัญชาตญาณดิบที่จะควบมันไปข้างหน้าถูกกระตุ้นขึ้นเพียงแค่ได้เห็น เครื่องจักรที่บ่งบอกถึงความเร็วและพลัง

พละกำลัง (TENSE): การขึ้นรูปของรถที่บ่งบอกถึงความรู้สึกของกำลังที่อัดแน่นในจังหวะที่กำลังจะเคลื่อนที่เข้าหาเป้าหมาย เป็นการขึ้นรูปที่ปราณีตหมดจด ไม่วอกแวก ให้เห็นถึงสปิริตของชาวญี่ปุ่นที่เรียบง่าย

เสน่ห์ (ALLURED): คุณภาพที่สัมผัสได้ถึงความลุ่มลึกและความหรูหราเหนือระดับ ส่งผ่านความประณีตของฝีมือมนุษย์ที่ชวนให้สัมผัส

เราได้ผสานคุณค่าทั้งสามนี้เอาไว้ใน “โคโดะ – จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว” (KODO – Soul of Motion)

นายโชอิชิ ยูกิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การวางยุทธศาสตร์ที่สำคัญเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อน และช่วยส่งเสริมสร้างภาพลักษณ์ ความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์มาสด้าในประเทศไทย จะช่วยให้รถยนต์มาสด้าสามารถครองใจลูกค้าได้อย่างยั่งยืน ด้วยการวางตำแหน่งของสินค้าที่แตกต่างและมีความชัดเจน เสริมด้วยกิจกรรมด้านการตลาดสไตล์ ซูม-ซูม เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่มีสไตล์การใช้ชีวิตเป็นตัวของตัวเอง ผมเชื่อมั่นว่าเราประสบความสำเร็จในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์มาสด้าได้บรรลุตามแผนที่วางไว้แล้ว และนับจากนี้เรายังคงมุ่งมั่นทุ่มเทสร้างรากฐานให้แบรนด์มีความมั่นคงยิ่งขึ้นต่อไป

“ความท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่มาสด้าจะสามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในระหว่างทาง ด้วยแรงกาย แรงใจ ความรักและหลงใหลในความเป็นมาสด้าของเราทุกคน ผมหวังว่า นวัตกรรมการออกแบบรวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ท่านได้รับชมได้รับฟังในวันนี้ จะยังประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยิ่งใหญ่และแข็งแกร่ง เสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง” ยูกิ กล่าวเสริม

Mazda Design Forum 2012

1-บทนำ

52 ปีแห่งความหลงใหลในการออกแบบยนตรกรรม

เมื่อครั้งที่มาสด้าเปิดตัวรถยนต์นั่งเป็นครั้งแรกกับรถมาสด้า R360 Coupe ในปี พ.ศ. 2503 เป็นรถที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายกับการออกแบบรถที่ดูเรียบง่ายลงตัวกับการใช้งาน สำหรับมาสด้าถือว่าเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของบริษัทฯในฐานะผู้ผลิตรถยนต์นั่ง และสำหรับผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น รถมาสด้า R360 Coupe คือรถในฝันของพวกเขาในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้

ในครั้งนั้นมาสด้าได้ริเริ่มการออกแบบยนตรกรรมด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างความแตกต่างด้วยภาพลักษณ์และบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ สำหรับรถมาสด้า เป้าหมายในการออกแบบคือการสร้างความแตกต่างที่เหนือกว่าการออกแบบรถทั่วๆ ไปในอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นเพียงแต่การใช้งาน มาสด้ามีความมุ่งมั่นที่จะสร้างนิยามการออกแบบด้วยความรู้สึกถึงความตื่นเต้นเร้าใจ และตอบสนองทุกๆ ความคาดหวังของลูกค้าที่จะได้สัมผัสกับประสบการณ์การขับขี่รถยนต์มาสด้า ภายใต้แนวทางการออกแบบดังกล่าว ผนวกกับข้อเท็จจริง ที่ว่า นักออกแบบมาสด้าทุกๆ คนมีความหลงใหลในการออกแบบยนตรกรรมอย่างแท้จริง พวกเขามุ่งมั่นทุ่มเท ทุกๆ ลมหายใจเพื่อสร้างงานดีไซน์ที่บ่งบอกถึงอารมณ์และการสร้างงานศิลปะที่สวยงามสะท้อนถึงบุคลิกภาพของงาน เป้าหมายของการออกแบบคือการสร้างงานดีไซน์ที่สามารถสื่อสารถึงมุมมองและวิสัยทัศน์ของแนวทางการออกแบบรถยนต์มาสด้า ไปสู่ผู้บริโภคทั่วโลก และถือเป็นปรัชญาของการออกแบบที่ท้าทายนักออกแบบมาสด้าทุกคนเป็นอย่างมากในการไล่ล่าสร้างสรรค์งานการออกแบบที่สมบูรณ์แบบในช่วงครึ่งทศวรรษแรก

ผ่านมากว่า 52 ปี การออกแบบรถยนต์มาสด้ากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ เป็นก้าวต่อไปของการคิดค้น การเสาะหางานดีไซน์ใหม่ๆ ที่อธิบายถึงความหลงใหลในศิลปะด้านการออกแบบยนตรกรรมและการขับขี่ มาสด้าได้ริเริ่มและพัฒนางานดีไซน์ด้วยการขึ้นรูปของตัวรถที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของรถมาสด้า เป็นการกำหนดภาพลักษณ์ของยนตรกรรม มาสด้า เจนเนอเรชั่นใหม่

2- มรดกของงานดีไซน์

ความหลงใหลในความเคลื่อนไหว

ความพยายามในการพัฒนาการออกแบบยนตรกรรมมาสด้า ได้เริ่มต้นขึ้นกับรถมาสด้า R360 Coupe และต่อเนื่องมาจนถึงช่วงปีพ.ศ. 2513 ถึงปี พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นการกำหนดรูปแบบของการออกแบบรถมาสด้าในยุคนั้น และในช่วงเวลาเดียวกันนี้เองที่มาสด้าได้สร้างภาษาของการออกแบบยนตรกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมา ผลงานดังกล่าวได้แก่ รถมาสด้า Cosmo Sports 110S เป็นรถสปอร์ตที่มีดีไซน์ที่ล้ำสมัยมากในยุคนั้น และรถมาสด้า RX-7 ที่เน้นรายละเอียดของเส้นสายที่เรียบง่าย ด้วยงานดีไซน์ที่ดูลงตัว และช่วยเสริมจุดเด่นในสมรรถนะอันทรงพลังจากเครื่องยนต์โรตารี่ และจากความพยายามตรงจุดนี้ ทำให้เกิดบุคลิกภาพเฉพาะและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของรถมาสด้า และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์มาสด้านับตั้งแต่นั้นมา

ในการผ่านเข้าสู่ช่วงครึ่งในทศวรรษหลังระหว่างปี พ.ศ. 2523-2532 มาสด้าให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ กับความปรารถนาอัน

แรงกล้าที่ต้องการเห็นการพัฒนายนตรกกรม ด้วยงานดีไซน์ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและตอบสนองทางด้านอารมณ์อย่างแท้จริง ความปรารถนาดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดมาเป็นการออกแบบที่ผสมผสานการใช้งานเข้ากับความสวยงามของงานศิลปะ ด้วยการเลือกกำหนดรายละเอียดของรูปทรงและรายละเอียดของพื้นผิวรถ กลายมาเป็นรถมาสด้า MX-5 หรือ มาสด้าโรสเตอร์ ในประเทศญี่ปุ่น รถมาสด้า MX-5 จึงเป็นการกำหนดนิยามของรถสปอร์ตน้ำหนักเบา ที่ให้สมรรถนะและความเพลิดเพลินในการขับขี่อย่างแท้จริง เป็นที่ยอมรับทั่วโลก แนวทางการพัฒนานี้ยังได้ถูกนำไปใช้กับรถมาสด้า RX-7 หรือ Enfini RX-7 ในประเทศญี่ปุ่น เป็นการเสริมจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะของรถสปอร์ตเครื่องยนต์โรตารี่ ได้อย่างลงตัว

“ความเคลื่อนไหว” กับงานดีไซน์ที่สะดุดทุกสายตาจากผู้คนทั่วโลกให้หันมอง

ในปี พ.ศ.2543 การออกแบบยนตรกรรมมาสด้ายังคงมุ่งเน้นความเป็นสปอร์ต การเคลื่อนที่อย่างคล่องแคล่ว แข็งแรง ดั่งนักกีฬา ให้เป็นแนวทางการออกแบบในอีกสหัสวรรษข้างหน้า แนวทางการออกแบบที่ถ่ายทอดถึงภาษาการออกแบบใหม่ที่ถูกกำหนดขึ้นและสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ตามแบบฉบับ ซูม-ซูม นักออกแบบมาสด้าต้องการที่จะสร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้กับลูกค้ามาสด้าและผู้สนใจ เป็นการสื่อสารของการออกแบบที่ตั้งใจกระตุ้นให้ผู้คนตกหลุมรักรถยนต์มาสด้า และให้ความเพลิดเพลินในการขับขี่ รถยนต์มาสด้ารุ่นแรกที่ได้รับการออกแบบในยุคนี้คือ รถมาสด้า6 หรือ มาสด้า Atenza ในประเทศญี่ปุ่น ตามมาด้วย รถมาสด้า RX-8 และรถมาสด้ารุ่นอื่นๆ กลยุทธ์ที่ใช้ในการออกแบบนี้ได้รับการยอมรับและยกย่องอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังได้รับรางวัลในอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างมากมาย

การออกแบบยนตรกรรมมาสด้าด้วยความเป็นสปอร์ต การเคลื่อนที่อย่างคล่องแคล่ว แข็งแรง ดั่งนักกีฬา ได้ดำเนินต่อไปในการพัฒนาปรัชญาการออกแบบ นากาเร่ หรือมีความหมายว่าความต่อเนื่อง ไหลลื่น อย่างธรรมชาติ ในภาษาญี่ปุ่น ภาษาของการปรัชญาการออกแบบ นากาเร่ ได้นำเอาความสวยงามของธรรมชาติที่แสดงออกจากความเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งในธรรมชาติในหลากหลายลักษณะ การพิถีพิถันการออกแบบเส้นสายที่ลื่นไหลต่อเนื่องของธรรมชาติผสมผสานเข้ากับการขึ้นรูปของตัวรถ การไหลอย่างต่อเนื่องของสรรพสิ่งในธรรมชาติ อาทิเช่น การแสของลม น้ำ การเปลี่ยนรูปของทรายบนเนินทรายที่มีกระแสลมมาปะทะ สายธาร ลาวา เป็นต้น มาสด้าได้นำเอาความสวยงามจากภาพของความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องไหลลื่น เหล่านั้น มาประยุกต์ใช้เป็นอีกระดับของงานดีไซน์ ภายใต้แนวทางการออกแบบ นากาเร่ มาสด้าได้ออกแบบรถต้นแบบทั้งสิ้น 7 คันด้วยกัน และหลังจากนั้นได้นำมาใช้กับการออกแบบรถมาสด้า5 ใหม่ ซึ่งเป็นรถที่ผลิตเพื่อการจำหน่ายจริง

ก้าวถัดไป กับการพัฒนาเพื่อ ความเคลื่อนไหวอันทรงพลัง

การออกแบบยนตรกรรมมาสด้าได้ดำเนินต่อไปและนำไปใช้ผลิตรถมาสด้าหลากหลายรุ่น ด้วยเส้นสายที่มีเสน่ห์ดึงดูดภายใต้คอนเซ็ปต์ของความเคลื่อนไหว เราได้มีการพัฒนาจากบทเรียนต่างๆ ที่ได้รับในการออกแบบตามแนวทางของ นากาเร่ และได้ใส่รายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของโครงสร้างที่ให้ความรู้สึกปราดเปรียวมากขึ้น สร้างความต่อเนื่องในภาษาของการออกแบบรถมาสด้า โดยรูปแบบและการแสดงออกแบบใหม่ช่วยเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์มาสด้าอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

3- มร. อิคุโอะ มาเอดะ หัวหน้าทีมออกแบบมาสด้าทั่วโลก

รถยนต์ที่ขึ้นรูปด้วยสุนทรียภาพ

ยุคของการออกแบบด้วยแนวความคิดใหม่ได้เริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง จากผู้ชายคนหนึ่งที่ได้ปฏิวัติการออกแบบรถสปอร์ตและรถยนต์นั่งขนาดคอมแพ็ค มร. อิคุโอะ มาเอดะ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการออกแบบมาสด้า คือ บุคคลผู้อยู่เบื้องหลัง สำหรับก้าวสำคัญของมาสด้าในการเริ่มต้นการพัฒนารถต้นแบบคันล่าสุด มร. มาเอดะ ได้นำทีมนักออกแบบมาสด้า ในการพัฒนาการออกแบบรถต้นแบบคันใหม่ และการขึ้นรูป ด้วยความหลงใหลและความมุ่งมั่นของเขา

มร. อิคุโอะ มาเอดะ เคยเป็นหัวหน้านักออกแบบรถสปอร์ตมาสด้า RX-8 ซึ่งเป็นการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่สำหรับการออกแบบรถสปอร์ต 4 ที่นั่ง ที่ใช้เครื่องยนต์โรตารี่ และไม่มีเสาคั่นกลางระหว่างประตูหน้าและประตูหลัง เขายังเคยเป็นหัวหน้านักออกแบบรถมาสด้า2 ที่ได้รับรางวัลรถยอดเยี่ยมของโลกในปี พ.ศ.2551 โดยเป็นรถยนต์นั่งคอมแพ็คที่พิถีพิถัน ผ่านเทคโนโลยีการลดน้ำหนักของมาสด้า อีกทั้งเขายังเป็นนักแข่งรถที่หลงใหลกับโลกของการแข่งขันด้วยความเร็ว และได้นำความรู้สึกเหล่านั้นมาใช้ในขณะที่สร้างสรรค์ลายเส้นในการออกแบบรถ

มร. อิคุโอ มาเอดะ ถือเป็นนักออกแบบมาสด้าเจนเนอเรชั่นที่2 เขามุ่งมั่นด้วยพลังและสปิริตของมาสด้าเช่นเดียวกับบิดาของเขา มร.มะทะซะบุโระ มาเอดะ ซึ่งเคยร่วมทำงานออกแบบรถยนต์นั่งมาสด้ามากมายหลายรุ่น ในปี พ.ศ.2521 มร.มะทะซะบุโระ มาเอดะ ผู้บริหารงานออกแบบรถมาสด้าทุกรุ่นในช่วงเวลานั้น เป็นผู้นำและริเริ่มการพัฒนาการออกแบบรถมาสด้า RX-7 และหลังจากนั้นมาสด้าได้เริ่มก่อตั้งฝ่ายการออกแบบ และ มร.มาเอดะ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการ ในเวลานั้น

อะไรคือสิ่งที่ซึมซับอยู่ภายในและสืบทอดต่อกันมา ของนักออกแบบผู้ให้กำเนิดรถมาสด้า RX-7

ในช่วงวัยมัธยมศึกษา มร. อิคุโอะ มาเอดะ เริ่มหลงใหลกับการออกแบบเมื่อครั้งที่บิดาของเขาให้ดาบที่ทำจากสเตนเลส สตีล และซาติน ซึ่งออกแบบโดย มร. เอ็นโซ่ มารี ทุกครั้งที่ มร. มาเอดะ ถือดาบ มันทำให้เขารู้สึกราวกับว่า ได้สัมผัสถึงงานดีไซน์บนมือของเขา เมื่อบิดด้ามมือจับดาบเพียงเบาๆ ความงดงามของวัสดุได้เปลี่ยนใบมีดธรรมดา ให้กลายเป็นความสวยงามและแสดงออกถึงการใช้งานเช่นกัน ผมรู้สึกประทับใจในทันที เมื่อได้สัมผัส รู้สึกได้ถึงความเป็นงานดีไซน์ที่ยอดเยี่ยม และได้เข้าใจว่าการออกแบบนั้นหมายถึงอะไร เป็นช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะที่ มร. มะทะซะบุโระ มุ่งมั่นทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาการออกแบบมาสด้า RX-7 ในขณะนั้น

ในขณะนั้น มร.มะทะซะบุโระ ได้ถ่ายทอดไว้ว่า: ผมให้ความสำคัญในการออกแบบรถมาสด้า RX-7 อยู่ 3 ประการตามลำดับ เพื่ออธิบายการขึ้นรูปตามธรรมชาติ ประการแรก ผมมองหาทางการแสดงออกที่ดีที่สุดที่สามารถถ่ายทอดลักษณะเฉพาะของเครื่องยนต์โรตารี่ ประการที่สอง ผมมุ่งมั่นเพื่อลดแรงฉุด แรงเสียดทานที่จะกระทำในการเคลื่อนที่ของรถ และประการที่สาม ผมมีจินตนาการให้รถมาสด้า RX-7 เป็นรถสปอร์ตแบบคลาสสิค ด้วยการวางโครงสร้างแบบ Front-mid-ship

เมื่อเวลาผ่านไป 25 ปี รถมาสด้า RX-8 ได้ถูกพัฒนาและออกแบบภายใต้ความดูแลของ มร. อิคุโอะ มาเอดะ ในปี พ.ศ.2546 รถมาสด้า RX-8 ได้เปิดตัวขึ้น ถือเป็นครั้งแรกในโลกของรถยนต์ สำหรับการเป็นรถสปอร์ตเจนเนอเรชั่นใหม่ และสำหรับคนรุ่นใหม่ในเวลานั้น ถือเป็นความสำเร็จที่ต่อเนื่องจากรถมาสด้า RX-8 ใน 3 เจนเนอเรชั่นที่ผ่านมา และจากที่ มร. อิคุโอะ มาเอดะ ได้เล่าให้ฟังนั้น การออกแบบรถมาสด้า RX-8 ได้มีแรงผลักดันมาจากคอนเซ็ปต์พื้นฐานของตัวรถเอง แนวทางการออกมีแค่เพียงทางเดียว ในการที่จะพัฒนารถสปอร์ต 4 ที่นั่ง ให้ประสบความสำเร็จ นั่นคือการพัฒนาโครงสร้าง ฟรีสไตล์แค็บ 4 ประตู โดยไม่มีเสามาคั่นกลาง เป็นสิ่งสำคัญและเป็นพื้นฐานในการออกแบบที่ต้องคิดอยู่เสมอ

จากที่เราได้รับฟังเรื่องราวจาก พ่อ-ลูก ทั้งสอง เป็นการยืนยันสปิริตของนักออกแบบมาสด้าด้วยแรงศรัทธาที่มุ่งมั่น สืบสานถ่ายทอดกันมาจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง สร้างยนตรกรรมที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับมากมายหลายรุ่น มร. อิคุโอะ ได้เปิดเผยความในใจที่ว่า “วิธีการแสดงออกของงานดีไซน์ของผมแตกต่างจากคุณพ่อของผมเป็นอย่างมาก แต่กระนั้นถ้ามองให้ลึกซึ้งจะพบว่ามันอยู่บนพื้นฐานและเป้าหมายของการออกแบบเดียวกัน เมื่อมองถึงการได้เป็นเจ้าของรถคันนี้ มันคือรถที่ถูกออกแบบเพื่อให้เกิดศักยภาพของกลไกการทำงานสูงสุด

มร. อิคุโอะ มาเอดะ ได้กล่าวไว้ว่า “ในฐานะของผู้รับผิดชอบและหัวหน้าทีมนักออกแบบมาสด้า และเมื่อพิจารณาถึงการปฏิวัติการออกแบบยนตรกรรมมาสด้า ผมตัดสินใจกลับไปใช้ความเชื่อดั่งเดิมของผมที่ว่า การออกแบบรถยนต์ไม่ใช่เพียงแค่การออกแบบผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรม แต่เปรียบได้กับเครื่องจักรที่ควรค่าแก่การหวงแหน และหลงใหลเป็นอย่างยิ่ง ไม่ได้เป็นเพียงแค่การแสดงออกด้วยงานดีไซน์ที่ดูหวือหวา มีผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเพียงไม่กี่ประเภทที่สามารถเปรียบเทียบการออกแบบกับสรรพสิ่งที่มีชีวิตในธรรมชาติ ที่ซึ่งแสดงออกถึงพละกำลังเมื่อเคลื่อนไหว มองดูมีเสน่ห์น่าหลหลงใหล นี่คือความสวยงามที่ปรากฏกับทุกสายตา ถ่ายทอดออกมาจากภายใน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมต้องการถ่ายทอดไปสู่รถยนต์มาสด้า”

4-แนวทางการออกแบบ

‘โคโดะ – จิตวิญาณของความเคลื่อนไหวอันงดงาม’

ผ่านยุคสมัยในประวัติศาสตร์การออกแบบมาสด้า มาสด้าได้บุกเบิกและคิดค้น การขึ้นรูปและรูปทรงต่างๆ มากมายที่บรรยายถึง การเคลื่อนที่ หรือ motion ในหลายปีที่ผ่านมา เป็นการหล่อหลอมรวมเอาความสวยงามของการเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น กระแสลม การไหลของน้ำ นำมาใช้พรรณนาถ่ายทอดงานดีไซน์ของมาสด้า

ความคิดสร้างสรรค์และแนวทางของมาสด้าได้เริ่มขึ้นแล้ว ปรัชญาการออกแบบของมาสด้าสำหรับยนตรกรรมในยุคถัดไป คือการผสมผสาน ความสวยงามและพลังเข้าไว้ด้วยกัน เป็นสิ่งที่เรามองเห็นและสัมผัสได้ในการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต ทั้งมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มันเป็นภาพในช่วงเวลาของการเคลื่อนที่ ที่กำลังจะเริ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ช่วงจังหวะที่เสือซีต้าห์กำลังจะกระโจนเข้าตะครุบเหยื่อ หรือในศิลปะการป้องกันตัวในอดีตของญี่ปุ่น ในจังหวะที่ดาบ “เคนโด้” กำลังจะถูกฟาดเพื่อเข้าจู่โจม ทั้งหมดคือช่วงเวลาขณะที่พละกำลังที่ถูกรวบรวมเอาไว้เพื่อใช้งาน ได้ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างรวดเร็ว มันเป็นการแสดงออกถึงความสมดุลของ ความแข็งแรง และความปราดเปรียวได้อย่างประณีต ในจังหวะเข้าจู่โจมนั้นต้องใช้สมาธิและการช่วงชิงจังหวะ ทำให้รับรู้ได้ถึง พละกำลัง ความเร็ว และกล้ามเนื้อและรูปทรงที่มีความแข็งแรง ทั้งหมดก่อเกิดโดยธรรมชาติ เป็นความสวยงามที่ประณีต มีเสน่ห์อย่างไม่น่าเชื่อ

มาสด้าได้กำหนดการเคลื่อนไหวโดยฉับพลันแบบนี้ ที่เต็มเปี่ยมด้วยพละกำลัง ความรวดเร็ว แสดงออกอย่างน่าเกรงขาม ให้เป็นเป็นแนวทางของการขึ้นรูปงานดีไซน์ และเป็นการให้คำนิยามของ โคโดะ ‘KODO’ ที่มาสด้าจะใช้ในการออกแบบรถยนต์มาสด้าให้มีภาพลักษณ์ของความเร็ว ความทรงพลัง รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ทำให้ดูมีชีวิตชีวา แสดงออกถึงจิตวิญญาณ ‘Kodo – Soul of Motion’ เป็นภาษาการออกแบบใหม่ที่เป็นตัวแทนของรถมาสด้าเจนเนอเรชั่นใหม่

Keywords: Speed, Tense, and Alluring

ความรวดเร็ว ทรงพลัง และความงดงาม

ความรวดเร็ว (Speed): การขึ้นรูปที่บ่งบอกถึงความรวดเร็ว ให้ภาพของรถยนต์ที่มีปลุกเร้าสัญชาตญาณของสรรพสิ่งมีชีวิตให้เกิดความต้องการในการควบคุมเครื่องจักรอันนี้ เป็นเครื่องจักรที่มีความเร็วและทรงพลัง

ทรงพลัง (Tense): การขึ้นรูปที่ก่อให้เกิดความพิถีพิถันของความแข็งแกร่งมีพละกำลัง ในจังหวะการเริ่มต้นของการเคลื่อนที่เข้าจู่โจม เป็นการขึ้นรูปที่ประณีต ที่มีรากฐานของความเรียบง่ายด้วยสปิริตของชาวญี่ปุ่น

ความงดงาม (Alluring): คุณภาพที่สามารถสัมผัสได้ ถ่ายทอดอย่างลึกซึ้ง เหนือระดับ ด้วยความประณีต และการเลือกสรรอย่างมีคุณค่า รู้สึกได้ถึงศิลปะของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมือของมนุษย์อย่างปราณีต

เราได้ผสมผสานคุณสมบัติทั้งสามอย่างเพื่อเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขึ้นรูปของ โคโดะ จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวที่งดงาม ‘KODO – Soul of Motion’

5 – รถต้นแบบมาสด้าชินาริ

มาสด้า ชินาริ – ความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและความแข็งแรงที่จู่โจมได้อย่างเร้าใจ

มาสด้า ชินาริ คือรถต้นแบบที่ออกแบบด้วยความบริสุทธิ์งดงาม เป็นต้นแบบของรถสี่ประตู และรถสปอร์ตสองประตู 4 ที่นั่ง ที่แสดงออกถึงแนวทางการออกแบบ โคโดะ จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวอันงดงาม ด้วยรูปลักษณ์ที่สง่างาม

ในภาษาญี่ปุ่น ชินาริ บรรยายถึงรูปลักษณ์ที่อ่อนโยนสวยงามแต่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง พร้อมกับคุณสมบัติของความยืดหยุ่น สามารถรักษารูปทรงของตัวเองได้ถึงแม้จะได้รับแรงดึง ยืด หรือบิดตัวอย่างรุนแรง คล้ายกับคุณสมบัติธรรมชาติในเหล็กและไม้ไผ่ ชินาริ ยังหมายถึงตัวตนของบุคคลหรือสิ่งมีชีวิตที่พร้อมจะเคลื่อนไหวอย่างอิสระได้ด้วยความรวดเร็วฉับไวทันที ภายใต้การเคลื่อนไหวดังกล่าว นักออกแบบมาสด้าได้ค้นพบศักยภาพที่แท้จริง

โคโดะ จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวที่งดงาม

ในวินาทีแรกที่ได้เห็น มาสด้า ชินาริ สามารถรับรู้ได้ถึงอารมณ์และความรู้สึก ขึ้นรูปด้วยภาพลักษณ์ที่ทรงพลัง ภายใต้รูปทรงที่ลาดเอียงและกล้ามเนื้อที่แข็งแรง แต่ในขณะเดียวกันก็ดูนุ่มนวลอ่อนโยนพิถีพิถัน มาสด้าปรารภนาที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผู้หลงใหล และไปให้ไกลเกินกว่าความเป็นตรรกะความเป็นเหตุเป็นผล

ความท้าท้ายของนักออกแบบ

ยะซูชิ นากามูตะ หัวหน้านักออกแบบ ผู้ออกแบบรถมาสด้า MX-5 เจนเนอเรชั่นที่3 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดของรถต้นแบบ ชินาริ “นับเป็นความท้าทายของเราในการสร้างสรรค์ การแสดงออกของงานดีไซน์สมัยใหม่ ที่ทรงพลัง เป็นสิ่งที่พวกเราไม่เคยทำมาก่อน เราเริ่มต้นด้วยการออกแบบงานดีไซน์โดยประหนึ่งว่ามีนักล่าเหยื่ออยู่ใกล้ๆ ภาพขณะจู่โจมเข้าตะครุบเหยื่อ หรือ ภาพของเคนโด้ ที่กำลังเข้าประชิดจู่โจม เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยดาบในอดีตของชาวญี่ปุ่น เพื่อให้เข้าใจถึงพละกำลังที่ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างรวดเร็ว

การถ่ายทอดอารมณ์ในขณะนั้นเป็นการเคลื่อนไหวที่มีการปลดปล่อยพลังทั้งหมดออกมา เป็นสิ่งที่มาสด้าใช้เป็นต้นแบบของการออกแบบรถต้นแบบมาสด้าชินาริ และเป็นความท้าทายในการทำงานของทั้งนักออกแบบและนักขึ้นรูปรถต้นแบบหรือโมเดลเลอร์ ขบวนการการทำงานเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ มากมายในหลากหลายสถานที่ ที่ทีมงานทุกคนมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า รวมไปถึงการที่นักออกแบบแต่ละคนต้องวาดงานดีไซน์ด้วยลายเส้น และการปั้นรูปปั้นดินเหนียว ที่แสดงถึงภาพลักษณ์ของ โคโดะ – จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวที่งดงาม จากนั้นเป็นการเดินหน้าของการค้นพบความสวยงามของการออกแบบที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้ ดังเช่น งานศิลปะแบบดั้งเดิมในสไตล์ญี่ปุ่น

ในขณะที่ทีมงานเดินหน้าในขบวนการการทำงาน มร. นากามูตะ ให้ความสำคัญเรื่องแรงที่เข้ากระทำกับวัตถุที่สามารถทำให้แผ่นเหล็กเกิดการบิดโค้งได้ การออกแบบรถต้นแบบมาสด้าชินาริ ได้ใส่รายละเอียดของการบิดตัวที่ประณีตของกล้ามเนื้อหรือรูปทรง เกิดเป็นภาพงานดีไซน์ที่ดูปราดเปรียว มีพลังประหนึ่งว่าเคลื่อนไหว และสามารถถ่ายทอดถึงแนวทางของ โคโดะ – จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวที่งดงาม

การออกแบบภายนอก – การแสดงออกแบบไร้ขอบเขตของการเคลื่อนที่ด้วยความปราดเปรียว

ในภาพของพลังและความแข็งแรงที่ค่อยๆ ปลดปล่อยออกมาผ่านพื้นผิวและองค์ประกอบต่างๆ มาสด้าชินาริให้ภาพและความรู้สึก ประหนึ่งว่าจะทะยานออกจากที่อย่างรวดเร็วในทันใดนั้น กระดูกสันหลังที่แข็งแรงลากพาดผ่านตัวรถ การปลดปล่อยพลังที่ถูกเก็บไว้ภายใน ประสานกับความสวยงาม รูปทรงที่นุ่มนวล ต่างเป็นองค์ประกอบสำคัญที่รวมเข้าไว้ด้วยกัน

ภาพของเสาเอ เอียงลาดไปในทิศทางของตัวถังด้านท้าย รูปทรงของห้องโดยสาร โป่งล้อด้านหน้า และองค์ประกอบอื่นๆ ของชินาริ สอดผสานรวมกันให้เกิดเป็นสัดส่วนที่ลงตัว และแสดงออกถึงการปลดปล่อยพลังงานอย่างรวดเร็วทันทีเสมือนกับกำลังขับเคลื่อนรถไปข้างหน้า การออกแบบโป่งล้อด้านหน้าที่โดดเด่นสะท้อนถึงการปฏิวัติการออกแบบที่แตกต่างและได้นำไปใช้กับรถมาสด้า RX-8 ช่วยสร้างความมั่นคงและแข็งแรงของซุ้มล้อหน้าและให้ความรู้สึกคล่องแคล่วปราดเปรียวในด้านข้างของตัวรถ เป็นสไตล์ที่สปอร์ตและหรูหราในขณะเดียวกัน เส้นสายต่างๆ ไหลจากโป่งล้อหน้าต่อเนื่องไปจรดกับด้านข้างและทอดยาวไปยังโป่งล้อด้านหลัง ด้วยลักษณะของพื้นผิวที่ซ้อนกัน เป็นการผสมผสานที่สร้างเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกถึงพลัง ความแข็งแรง สวยและสง่างาม

พื้นผิวตัวถังดูประหนึ่งว่ากำลังเคลื่อนที่ ไม่มีรูปทรงอันไหนเลยที่ดูหยุดนิ่งอยู่กับที่ จึงให้ความรู้สึกเหมือนกับรถกำลังเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การควบคุมการออกแบบมุมองศาระหว่างพื้นผิวด้านบนกับตัวถังด้านข้างตั้งแต่ด้านหน้าจรดท้ายท้ายรถ เป็นการสร้างรูปทรงที่ดูมีประกายของการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ผ่านตัวถังของรถ

การขึ้นรูปแบบ 3 มิติของกระจังหน้า เป็นการเสริมภาพความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์มาสด้า การเลือกใช้เส้นสายที่มีการเคลื่อนไหว จากกระจังหน้าต่อเนื่องถึงฝากระโปรง โป่งล้อ ไฟหน้า และกันชนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นหลักของกระจังหน้าที่เชื่อมต่อกับไฟหน้าทั้งสองข้าง เป็นงานดีไซน์ 3 มิติ ที่ให้ความรู้สึกรวดเร็ว และเป็นองค์ประกอบที่เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของมาสด้า ในส่วนของไฟหน้า นักออกแบบมาสด้าออกแบบโครงสร้างของไฟหน้าไม่มีเลนส์ด้านนอก เปิดให้เห็นความลึกและมิติของโคมไฟ คล้ายกับดวงตาของสิ่งมีชีวิต สัตว์ป?


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ