ขึ้นทางด่วนวันหยุด (นักขัตฤกษ์) ฟรี 15 ปี Share this

ขึ้นทางด่วนวันหยุด (นักขัตฤกษ์) ฟรี 15 ปี

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 16 May 2563

หลังภาครัฐได้เข้าไปยุติข้อพิพาท ระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ส่งผลให้ผู้ใช้รถ สามารถขึ้นทางด่วนวันหยุดนักขัตฤกษ์ ฟรี 15 ปี 8 เดือน (31 ตุลาคม 2578)


ขึ้นทางด่วนวันหยุด (นักขัตฤกษ์) ฟรี 15 ปี

ข้อพิพาทระหว่าง การทางพิเศษฯ และ BEM เกิดจากการฟ้องร้องในประเด็นสัญญาต่างๆ จำนวน 17 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 58,000 ล้านบาท ซึ่งได้เจรจาสรุปยุติคดีความทั้งหมดด้วย การแลกกับการขยายสัญญาสัมปทานเดิม พร้อมเงื่อนไขซึ่งส่งผลดีต่อทั้งสองฝ่ายและผู้ใช้ทางด่วน

ทั้งนี้ การขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนมี 3 เส้นทาง ได้แก่

  1. ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1)
  2. ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)
  3. ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด)

ผลดีของการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนมี 3 เส้นทางดังกล่าว หลักๆ ได้แก่

  • ให้ผู้ใช้รถสามารถขึ้นทางด่วนวันหยุดนักขัตฤกษ์ ฟรี 15 ปี 8 เดือน (31 ตุลาคม 2578) *หมายเหตุวันหยุดราชการประจำปีหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์เป็นไปตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ค่าทางด่วนที่ปกติปรับขึ้นตามสัญญาทุก 5 ปี จะปรับขึ้นหลังจากนี้ 10 ปี ยกตัวอย่างเช่น สัญญาปรับขึ้นค่าทางด่วนปกติปรับขึ้น 5 บาททุกๆ 5 ปี ครั้งนี้พิเศษจะปรับขึ้นครั้งเดียวในปีที่ 10 หรือปี 2573

และมีความเป็นไปได้ว่า ในช่วงวันหยุดปีใหม่และสงกรานต์ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)จะอนุมัติยกเว้นค่าผ่านทางทางด่วน 2 เส้นทางคือ ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนบางนา-ชลบุรี) และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (ทางด่วนบางพลี-สุขสวัสดิ์) เมื่อมารวมกับ 3 เส้นทางที่ขยายสัมปทานใหม่ ผู้ใช้รถก็จะได้ใช้เส้นทางด่วนช่วงปีใหม่และสงกรานต์ฟรี รวม 5 เส้นทางก็เป็นไปได้

สำหรับรายละเอียดเส้นทางทางด่วน 3 เส้นทาง

1.ทางด่วนขั้นที่ 1 ระยะทาง 27.1 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นทางฝั่งทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เชื่อมต่อกันที่ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ระยะทางรวม 27.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย สายดินแดง–ท่าเรือ, สายบางนา–ท่าเรือ และสายดาวคะนอง–ท่าเรือ

  • สายดินแดง–ท่าเรือ ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร เริ่มจากปลายถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านทางแยกต่างระดับมักกะสัน ผ่านถนนสุขุมวิท ช่วงนี้เป็นทางยกระดับและเป็นทางราบตั้งแต่ถนนสุขุมวิทถึงถนนพระรามที่ 4 และเป็นทางยกระดับอีกครั้งในช่วงถนนพระรามที่ 4 ถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ เชื่อมต่อกับทางพิเศษสายดาวคะนอง–ท่าเรือ มีด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 6 ด่านคือ ด่านดินแดง, ด่านเพชรบุรี, ด่านสุขุมวิท, ด่านพระรามสี่ 1, ด่านเลียบแม่น้ำ และด่านท่าเรือ 1
  • สายบางนา–ท่าเรือ ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร เริ่มจากปลายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 บริเวณทางแยกต่างระดับบางนา แล้วมุ่งไปทางทิศตะวันตก ผ่านจุดตัดทางพิเศษฉลองรัชที่ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท ช่วงนี้เป็นทางราบและเป็นทางยกระดับตั้งแต่ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท 50 ถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ มีด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 4 ด่านคือ ด่านท่าเรือ 2, ด่านอาจณรงค์, ด่านสุขุมวิท 62 และด่านบางนา
  • สายดาวคะนอง–ท่าเรือ ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากทางแยกต่างระดับท่าเรือ ผ่านทางแยกต่างระดับบางโคล่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระราม 9 ช่วงนี้เป็นทางยกระดับ ขึ้นสะพานพระราม 9 และสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 2 มีด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 5 ด่านคือ ด่านสาธุประดิษฐ์ 1, ด่านสาธุประดิษฐ์ 2, ด่านพระราม 3, ด่านสุขสวัสดิ์ และด่านดาวคะนอง

2.ทางพิเศษศรีรัช หรือทางด่วนขั้นที่ 2 มีระยะทางรวม 38.4 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 4 ส่วน

  • ส่วน A ระยะทาง 12.4 กิโลเมตร เริ่มต้นที่ถนนรัชดาภิเษกผ่านบริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท (โรงกรองน้ำสามเสน) สิ้นสุดแนวสายทางที่ถนนพระราม 9 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง
  • ส่วน B ระยะทาง 9.4 กิโลเมตร มีแนวเชื่อมต่อกับส่วน A ที่บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท แนวสายทางมุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านถนนศรีอยุธยา เชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครที่บริเวณต่างระดับบางโคล่ เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร
  • ส่วน C ระยะทาง 8 กิโลเมตร เป็นทางพิเศษเขตนอกเมือง โดยเชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณถนนรัชดาภิเษก ผ่านถนนประชาชื่น มุ่งไปทางทิศเหนือ สิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ และเชื่อมต่อกับทางพิเศษอุดรรัถยา เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง
  • ส่วน D ระยะทาง 8.6 กิโลเมตร เป็นทางพิเศษเขตนอกเมือง เชื่อมต่อกับส่วน A โดยเริ่มจากถนนพระราม 9 ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับทางพิเศษเฉลิมมหานครที่ทางแยกต่างระดับมักกะสัน ตัดกับทางพิเศษฉลองรัชที่ทางแยกต่างระดับพระราม 9 และสิ้นสุดที่ถนนศรีนครินทร์ บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ และเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง มีด่านเก็บค่าผ่านทางรวมจำนวน 29 ด่าน

3.ทางพิเศษอุดรรัถยา หรือ ทางด่วนสายบางปะอิน–ปากเกร็ด มีระยะทางรวม 32 กิโลเมตร มีเส้นทางเชื่อมต่อมาจากทางพิเศษศรีรัชส่วน C บริเวณจุดตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นทางยกระดับมุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านเมืองทองธานี จากนั้นเข้าสู่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 แล้วข้ามคลองเชียงราก ก่อนที่ลดระดับเป็นทางราบมีรั้วกั้นตลอด จากนั้นเข้าสู่อำเภอสามโคกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 ซึ่งบริเวณนี้จะมีเส้นทางแยกไปทางทิศตะวันออกเพื่อต่อเชื่อมกับถนนทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หลังจากนี้ เส้นทางจะโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 แล้วไปสิ้นสุดบริเวณกิโลเมตรที่ 79 ของถนนกาญจนาภิเษก

ต่อไปในวันหยุดนักขัตฤกษ์ เราก็มีสิทธิ์ใช้ทางด่วนฟรีกันแล้ว

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

ติดตามข่าวรถยนต์ ราคารถยนต์ รีวิวรถยนต์ และจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อ กับเรา Autospinn
แชร์ความคิดเห็นบนเว็บบอร์ด Autospinn คลิกเลย webboard.autospinn.com  
เช็คโปรโมชั่นรถใหม่ เช็คราคารถใหม่ ได้ที่นี่ 
ราคารถมือสอง ซื้อรถมือสอง ขายรถมือสอง เชิญได้เลยที่ one2car


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ