ทางหลวงมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร Share this

ทางหลวงมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 07 January 2564

อธิบายตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2549 ระบุว่า ทางหลวงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 


ทางหลวงมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

ทางหลวงในไทยมี 5 ประเภท ประกอบด้วย ทางหลวงพิเศษ,ทางหลวงแผ่นดิน,ทางหลวงชนบท, ทางหลวงท้องถิ่น  และทางหลวงสัมปทาน  โดยทางหลวงแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น มีการแจกแจงดังนี้

1. ทางหลวงพิเศษ หรือ มอเตอร์เวย์ เป็นทางหลวงที่จัดหรือทำไว้เพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงพิเศษ โดยกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา รวมทั้งควบคุมให้มีการเข้าออกได้เฉพาะ โดยทางเสริมที่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษตามที่กรมทางหลวงจัดทำขึ้นไว้เท่านั้น เช่น มอเตอร์เวย์ สาย 7 (กรุงเทพฯ – ชลบุรี) และสาย 9 บางปะอิน-บางพลี (วงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก)

2. ทางหลวงแผ่นดิน  คือ ทางหลวงสายหลักที่เป็นโครงข่ายเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่สำคัญ ที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา โดยทางหลวงแผ่นดินจะมีตัวเลขบอกเส้นทาง ตัวเลขของทางหลวงมีตั้งแต่ 1-4 หลักจะเป็นการบอกประเภทของทางหลวงแผ่นดิน

  • ทางหลวงที่มีหมายเลขตัวเดียว หมายถึง ทางหลวงหลักที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครไปยังภูมิภาคหลักของประเทศไทย มีทั้งหมด 4 สาย ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน),ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)
  • ทางหลวงที่มีหมายเลขสองตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายประธานตามภาคต่าง ๆ ที่มีลักษณะโครงข่ายเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลขตัวเดียวผ่านพื้นที่สําคัญหลายจังหวัดเชื่อมต่อกันเป็นระยะทางยาวและมีลักษณะกระจายพื้นที่ให้บริการของทางหลวง จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลขตัวเดียว ออกสู่พื้นที่ทั่วประเทศอย่างเหมาะสม
  • ทางหลวงที่มีหมายเลขสามตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายรองประธาน ที่มีลักษณะโครงข่ายเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลขตัวเดียว หรือสองตัว เข้าสู่สถานที่สําคัญของจังหวัด หรืออาจจะไม่ผ่านพื้นที่สําคัญแต่มีลักษณะเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายที่ดีสามารถกระจายพื้นที่ให้บริการทางหลวงออกสู่พื้นที่ย่อย หรือเป็นทางลักษณะขนานกับแนวชายแดนต่อเนื่องกันเป็นระยะทางยาว
  • ทางหลวงที่มีหมายเลขสี่ตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัด กับอําเภอ หรือสถานที่สําคัญของจังหวัดนั้น ในลักษณะการกระจายพื้นที่ให้บริการทางหลวงออกสู่พื้นที่ย่อย แต่ไม่ได้เชื่อมต่อเป็นโครงข่ายระยะทางยาว

3. ทางหลวงชนบท  คือ ทางหลวงที่กรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดําเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบํารุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงชนบท อธิบดีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ณกรมทางหลวงชนบท ในการเรียกชื่อทางหลวงชนบท จะนิยมใช้หมายเลขทางหลวงแผ่นดิน หรือชื่อหมู่บ้าน หรือชื่อสถานที่สําคัญ ที่เป็นจุดเริ่มต้นโครงการและจุดสิ้นสุดโครงการในสายทางนั้นมาตั้งชื่อถนน เช่น สายแยกทางหลวงหมายเลข 314 – บ้านลาดกระบัง หรือ สายบ้านคลอง 20 – บ้านตลาดคลอง 16 เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงชนบทมากขึ้น การใช้ชื่อเพียงอย่างเดียวอาจจะก่อให้เกิดการสับสน และไม่สามารถทราบว่าสายทางนั้นอยู่ในจังหวัดใด ดังนั้นจึงมีการนำรหัสสายทางเข้ามาเป็นตัวบอกถึงที่ตั้ง และลําดับของสายทาง ซึ่งรหัสสายทางของทางหลวงชนบทประกอบด้วยตัวอักษรย่อของจังหวัด 2 ตัว และตัวเลข 4 ตัวมาใช้กํากับทางหลวงชนบท โดยมีความหมายดังนี้

  • ตัวอักษรย่อ บอกถึงจังหวัดที่ตั้งของสายทางนั้น ๆ เช่น นบ. หมายถึง ทางหลวงชนบทที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรีหรือ ชบ. หมายถึงทางหลวงชนบทที่อยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีเป็นต้น
  • หมายเลข โดยหมายเลขตัวแรกจะบอกถึงลักษณะของการเชื่องโยงของสายทางว่าจุดเริ่มต้นสายทางเป็นอย่างไร มีทั้งหมด 6 หมายเลข แต่ละหมายเลขมีความหมายดังนี้

          เลข 1 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลขตัวเดียว
          เลข 2 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลขสองตัว
          เลข 3 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลขสามตัว
          เลข 4 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลขสี่ตัว
          เลข 5 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงชนบทหรือทางหลวงท้องถิ่น
          เลข 6 หมายถึง เริ่มต้นจากสถานที่ เช่น โรงเรียน วัด บ้าน ตําบล อําเภอ

4. ทางหลวงท้องถิ่น  คือ ทางหลวงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงท้องถิ่น สำหรับรหัสสายทางของทางหลวงท้องถิ่นซึ่งจะปรากฏบนป้ายริมถนนจะประกอบด้วยตัวอักษร 3 ตัวแล้วตามด้วยตัวเลข 5 หลัก เช่น สข.ถ 25-100

สำหรับความหมายของตัวอักษรและตัวเลขที่ปรากฏบนป้ายระบุทางหลวงท้องถิ่นคือ ตัวอักษร 2 ตัวแรกเป็นชื่อย่อของจังหวัด ตัวอักษรตัวที่ 3 จะเป็นตัว ถ ทุกทางหลวงท้องถิ่นเพราะหมายถึงถนนทางหลวงท้องถิ่น อย่าง สข.ถ
ส่วนเลขที่ปรากฏบนป้ายระบุทางหลวงท้องถิ่นแบ่งเป็น 2 ส่วน หมายเลขส่วนแรกที่มี 1, 2 หรือ 3 ตัวเป็นลำดับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัด ส่วนตัวเลขส่วนหลังเป็นสำดับของสายทางหรือถนนที่ลงทะเบียนในเขตองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น

ตัวอย่างของรหัสสายทางของทางหลวงท้องถิ่นคือ สข. ถ 25-100 จะหมายถึงทางหลวงท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสงขลา มีเทศบาลตำบลนาทวีเป็นผู้รับผิดชอบ และลำดับสายทางที่ลงทะเบียนไว้คือ 100

5. ทางหลวงสัมปทาน  คือ ทางหลวงที่กรมทางหลวงได้ให้เอกชนสัมปทาน ตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้รับสัมปทาน และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงสัมปทาน ซึ่งอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้

ปัจจุบันกรมทางหลวงมีทางหลวงสัมปทาน 1 สายคือทางยกระดับอุตราภิมุขหรือดอนเมืองโทลล์เวย์ช่วงเฉพาะทางยกระดับตั้งแต่ดินแดงถึงดอนเมืองบนถนนวิภาวดีรังสิต โดยทางหลวงสัมปทานจะมีระบบหมายเลขทางหลวงเหมือนกับทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ซึ่งดอนเมืองโทลล์เวย์ในส่วนทางยกระดับดินแดงถึงดอนเมืองที่เป็นทางหลวงสัมปทานถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ขณะที่ช่วงตั้งแต่อนุสรณ์สถานถึงรังสิตเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1

ทางหลวงสัมปทาน จะมีระบบหมายเลขทางหลวงเหมือนกับทางหลวงแผ่นดิน หรือทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับลักษณะของทางหลวงสัมปทานนั้นว่า มีลักษณะเป็นทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

ที่มา กรมทางหลวง,กรมทางหลวงชนบท

ติดตามข่าวรถยนต์ ราคารถยนต์ รีวิวรถยนต์ และจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อ กับเรา Autospinn
แชร์ความคิดเห็นบนเว็บบอร์ด Autospinn คลิกเลย webboard.autospinn.com  
เช็คโปรโมชั่นรถใหม่ เช็คราคารถใหม่ ได้ที่นี่ 
ราคารถมือสอง ซื้อรถมือสอง ขายรถมือสอง เชิญได้เลยที่
 one2car


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ