เสวนา EV & Beyond by GWM ถอดบทเรียนทุกมิติความสำเร็จรถยนต์ไฟฟ้า Share this

เสวนา EV & Beyond by GWM ถอดบทเรียนทุกมิติความสำเร็จรถยนต์ไฟฟ้า

Wongsupat
โดย Wongsupat
โพสต์เมื่อ 03 November 2566

เมื่อเร็วๆนี้ เกรท วอลล์ มอเตอร์ เปิดเวทีเสวนา "EV & Beyond by GWM" ครั้งที่ 2 ฉายภาพอนาคตยานยนต์ไฟฟ้าไทย เผยความสำเร็จในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่ไทยต้องศึกษา ผลักดันโครงสร้างพื้นฐานรองรับเพิ่ม สนองความต้องการใช้ในไทย


เสวนา EV & Beyond by GWM

เกรท วอลล์ มอเตอร์ เดินหน้าจัดงานเสวนา “EV & Beyond by GWM” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ในหัวข้อ “Be Ready For The Future Of EV จับตาอนาคต EV ไทย…มีหวังแค่ไหน” ร่วมกับ THE STANDARD WEALTH ฉายภาพแนวโน้มการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ตอกย้ำความพร้อมเดินหน้าไปสู่เป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ

EV & Beyond by GWM

ภาพรวมการเติบโตยานยนต์ไฟฟ้าโลก-ไทย

จากข้อมูลการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดโลกเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์สันดาปภายในช่วงระหว่างปี 2560 และ 2565 ในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคล จะเห็นได้ว่า ในปี 2560 มีรถยนต์ไฟฟ้า 1.2 ล้านคัน และ รถยนต์สันดาปภายใน 85.09 ล้านคัน หรือคิดเป็นสัดส่วนในจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 70 คันจะมีรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน แต่ในปี 2565 พบว่า มีการขายรถยนต์สันดาปภายในลดลงเหลือเพียง 63.2 ล้านคัน ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้ามียอดขายสูงถึง 10.6 ล้านคัน

ซึ่งถือเป็นปีแรกที่มียอดขายเกินกว่า 10 ล้านคัน คิดเป็นสัดส่วน 1:7 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่ก้าวกระโดดในระยะเวลาเพียง 5 ปี โดยประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ ประเทศจีนที่มีสัดส่วนการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าที่ค่อนข้างหนาแน่น คือ 1:4 หรือทุก ๆ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 4 คันจะมีรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีสัดส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าทั้งโลกประมาณ 18 % ซึ่งคาดว่าในปี 2573 จะมีสัดส่วนมากถึง 60 – 85%

การเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายนของปีนี้ ประเทศไทยได้มีการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ทุกประเภทไปแล้วมากถึง  67,933 คัน เป็นรถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคลสูงถึง 50,344 คัน รวมถึงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 พบว่าในไทยมีการยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 400%

ถอดบทเรียนความสำเร็จจากจีน

จากภาพรวมการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ประเทศจีนถือเป็นประเทศหลักของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในโลก โดยสามารถถอดบทเรียนความสำเร็จของประเทศจีน ผ่านกลยุทธ์ Push และ Pull พบว่ามี 3 ปัจจัยด้วยกันที่ผลักดันให้อัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้าขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย

  1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้งาน รวมถึงการวางแผนเครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้าที่ครอบคลุม
  2. การออกนโยบายส่งเสริมที่แข็งแกร่งของภาครัฐจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศและความพร้อมในการสนับสนุนจากภาคเอกชน และการวาง Roadmap ที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
  3. การสนับสนุนการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่

สำหรับนโยบายของภาครัฐ จีนมีแผนการพัฒนาชาติอย่างชัดเจน โดยกำหนดให้ภายในปี 2030 รถยนต์ที่ขายจะต้องมีสัดส่วนของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 40% และมีการออกนโยบายทั้งแบบ tax และ non-tax ไม่ว่าจะเป็น การลดค่าจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ การให้เงินสนับสนุนในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า การให้สิทธิพิเศษแก่รถยนต์ไฟฟ้าด้านการกำหนดวันและเวลาของการวิ่ง เรื่องที่จอดพิเศษ ฯลฯ

นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังเปิดให้ผู้เล่นต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญและความสามารถอย่าง Tesla เข้ามาลงทุนในประเทศ ซึ่งสร้างความตื่นตัวให้กับผู้เล่นในตลาด เกิดเป็นการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมยานยนต์

สัดส่วนสถานีชาร์จจีน รถ 7 คัน 1 หัวจ่าย

ปัจจุบันประเทศไทยมีหัวจ่ายสาธารณะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารวมการชาร์จทั้งแบบ DC และ AC มากกว่า 4,000 หัวจ่าย จากทั้งหมดกว่า 1,400 สถานีทั่วประเทศ โดยเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับของโลกจะเห็นได้ว่า ปริมาณหัวจ่าย DC สาธารณะตามค่าเฉลี่ยทั่วโลกนั้นอยู่ที่ 15-16 คัน ต่อ 1 หัวจ่ายสาธารณะ ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 20 คัน ต่อ 1 หัวจ่ายสาธารณะ แสดงให้เห็นว่าการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเติบโตรวดเร็วกว่าสถานีชาร์จ โดยเมื่อเทียบกับตลาดสำคัญอย่างประเทศจีนพบว่า อยู่ที่ 7 คัน ต่อ 1 หัวจ่าย ดังนั้น การสนับสนุนการขยายโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จไฟฟ้าจากภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อให้มีการขยายสถานีเครือข่ายที่ครอบคลุมการใช้งานจึงมีความสำคัญ

ขณะที่ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้เดินหน้าตามแผนการขยายสถานีชาร์จให้เพียงพอต่อความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในไทย โดยมีสถานีอัดประจุไฟฟ้า G-Charge Supercharging Station ใจกลางเมืองย่านสยามสแควร์ที่ชาร์จเร็วด้วยกำลังไฟฟ้าสูงสุดถึง 160 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่ง G-Charge Supercharging Station แห่งนี้ ถือเป็นสถานีอัดประจุไฟฟ้าขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทยของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ นอกจากนี้ ยังได้เปิดตัวสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ GWM Partner Store ไปแล้ว 22 แห่ง ซึ่งเป็นสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (DC Fast Charge) และในปีนี้ GWM วางแผนขยายสถานี DC Fast Charge เป็นทั้งสิ้น 55 แห่งครอบคลุมในทุกภูมิภาคของไทย พร้อมให้บริการผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าทุกแบรนด์ เพื่อยกระดับระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในไทยให้มีความพร้อมและตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคในอนาคต

ความท้าทายของไทย

การที่นโยบายและโครงสร้างพื้นฐานจะต้องเติบโตตามทันความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อปรับใช้และรองรับให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ครอบคลุม ทั้งมาตรการส่งเสริมการใช้ มาตราการส่งเสริมการผลิต และมาตรการการขยายสถานีชาร์จ เพื่อให้พัฒนาไปพร้อม ๆ กัน

จากมุมมองผู้ผลิต เกรท วอลล์ มอเตอร์ เชื่อมั่นว่าประเทศไทยยังมีโอกาสเติบโตสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้า แต่ยังคงมีความท้าทายอยู่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้

  • ด้าน Localization การผลิตภายใต้นโยบายการส่งเสริมการลงทุนนั้น ต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content) อย่างต่ำ 40% ซึ่งปัจจุบันซัพพลายเชนในประเทศยังเป็นการผลิตรถยนต์สันดาปภายในอยู่ ซึ่งทำให้การหาซัพพลายเออร์และชิ้นส่วนให้ได้ 40% นั้นถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะแบตเตอรี่ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของรถไฟฟ้า เกรท วอลล์ มอเตอร์ จึงได้นำ SVOLT เข้ามาเปิดโรงงานผลิตในประเทศไทยเพื่อเพิ่มสายพานการผลิตแบตเตอรี่ให้กับการผลิตของกลุ่มผลิตภัณฑ์ ORA รองรับความต้องการยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด
  • ความท้าทายของจำนวนการผลิตและการขาย โดย OEM ที่เข้านโยบายการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐจะต้องผลิตรถยนต์ให้ได้ 1.5, 2, และ 3 เท่าของจำนวน CBU ที่ได้ขายไป ซึ่งในปัจจุบันได้เริ่มเห็นการทำสงครามราคาแล้ว รวมถึงยังมีค่ายใหม่ ๆ ที่จะมีเข้ามาอีกในปีหน้า ซึ่งถือเป็นความท้าทายในการบริหารเรื่องการขายและสต็อกในการผลิต ยิ่งไปกว่านั้น จะสามารถทำให้ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยและในภูมิภาคเติบโตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สัมพันธ์กับอุปทานในการผลิตได้อย่างไร
  • ด้านนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งต้องมีความต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์การใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนที่ต้องดึงดูดใจและช่วยเหลือในระยะยาว

ด้านณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) ได้เผยมุมมองของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ต่ออนาคตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย กล่าวว่า “เกรท วอลล์ มอเตอร์ เล็งเห็นถึงศักยภาพของตลาดยานยนต์ในประเทศไทยนั่นเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เราเข้ามาสู่ตลาดแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2564 โดยเรามุ่งหน้าดำเนินงานด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ Mission 9 in 3 การเปิดตัวยานยนต์คุณภาพภายใน 3 ปี การรับฟังเสียงของผู้บริโภค รวมถึงการมุ่งหน้าส่งมอบสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า เรามั่นใจว่าประเทศไทยจะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนและระดับโลกได้อย่างแน่นอน”

บทความที่น่าสนใจ

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน


คำนวณค่างวดรถเบื้องต้น
Use the calculator to calculate the installment of your dream car
ระยะเวลาผ่อนชำระ (เดือน)
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้
อัตราการผ่อนชำระ (เดือน)
บาท
จำนวนงวด (เดือน)
สนใจขอสินเชื่อรุ่นนี้
* ราคาค่างวดรวม VAT แล้ว สำหรับพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการซื้อขายได้

ความคิดเห็น


เรียกดูข่าวตามประเภทยานพาหนะ

ค้นหาข่าวโดยยี่ห้อ